ชะพลู

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Piper sarmentosum Roxb.jpg

วงศ์ PIPERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.ex Hunter.
ชื่อสามัญ ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ  พลูนก กะโด้ พลูลิง ผักแค ผักอี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามดิน ชูลำต้นสูงพ้นพื้นดิน ลำต้นเป็นสีเขียว   ใบ เป็นรูปหัวใจคล้ายใบพลู ดอก  เป็นช่อรูปทรงกระบอกสีขาวคล้ายดอกพลู และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อดอกแก่เต็มที่
ประโยชน์ด้านอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อน นำมาแกงกะทิกับกุ้ง ปลา หรือหอยบางชนิด รับประทานสดหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และใบอ่อนดิบใช้ห่อเป็นเมี่ยงคำ ผักปรุงเป็นข้าวยำ แกงแค
สรรพคุณทางยา

  • ราก แก้คูณเสมหะ (ขับเสมหะให้ตกทางอุจจาระ) แก้อุระเสมหะ (เสมหะในทรวงอก) แพทย์ในชนบทใช้รากของชะพลูปรุงเป็นยาแก้ธาตุน้ำพิการ บำรุงธาตุลูก ขับเสมหะในลำคอ
  • ใบ รสเผ็ดเล็กน้อยแก้ธาตุพิการ

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะขยายพันธุ์ทำง่ายโดยการ ตัดเถาเลื้อยไปปักชำ

Piper sarmentosum Roxb 01.jpg Piper sarmentosum Roxb 02.jpg Piper sarmentosum Roxb 03.jpg Piper sarmentosum Roxb 04.jpg