ผักคราดหัวแหวน

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

COMPOSITAE1.jpg

วงศ์COMPOSITAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sphaeranthus africanus Murr.
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆผักคราด ผักคราดหัวแหวน (กลาง) ผักตุ้มหู หญ้าต้มหู ผักเผ็ด ผักแค (เหนือ) ฮึ้งฮวยเกี้ย (จีนแต้จิ๋ว)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ที่ชอบขึ้นที่ลุ่มและมีความชุ่มชื้น พบขึ้นในป่าธรรมชาติป่าละเมาะโดยขึ้นประกบกับต้นไม้อื่น หรือสวน ริมคลองหรือร่องน้ำ ใต้ร่ม ลำต้นทอดตามดินเล็กน้อย แต่ปลายชูขึ้นลำต้นแก่จะมีรากงอกออกมาลำต้นค่อน ข้างกลม อวบน้ำ สีเขียว อาจมีสีม่วงแดงปนเขียว ต้นอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปร่างสามเหลี่ยมขอบใบหยักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ผิวใบสากและมีขน ใบกว้าง ออกดอกเป็นช่อตามขอบใบและปลายกิ่งดอกย่อยจะเรียงอัอกันแน่นเป็นกระจุกสีเหลือง เป็นลักษณะกลม ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ดอกย่อย 2 วง วงนอกเป็นดอกตัวเมีย วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ประโยชน์ด้านอาหารเป็นผักโดยยอดอ่อนใบอ่อนรับประทาน เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกลาบ ก้อย แกง และผักคราดนำไปปรุงเป็นอาหารได้ ชาวเหนือนำผักคราด ไปแกงแค ชาวอีสาน นำผักคราดไปใส่กับอ่อมปลาอ่อมกบ และชาวใต้นำยอดอ่อนของผักคราดไปแกงร่วมกับ หอยและปลา ทำให้รสชาติและกลิ่นของอาหารน่ารับประทานมากขึ้น
สรรพคุณทางยา ใช้แก้อาการปวดฟัน ขับปัสสาวะ แก้บิด ระงับไอ ในตำรายาไทยใช้ต้นสดตำผสมเหล้าหรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในลำคอ หรือต่อมน้ำลายอักเสบ ทำให้ลิ้นชา แก้ไข้

COMPOSITAE2.jpg