ไทรเลียบ

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Ficus lacor Buch.jpg

วงศ์ MORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus infectoria Roxb.
ชื่อสามัญLiap
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ไท้แมงดา แมงดาต้น ชะมัง กาดสลอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกบางและเรียบ ผลัดใบพร้อมกันทั้งต้น หลังผลัดใบจะแตกใบอ่อนเร็วมาก ใบเป็นเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลมมีหาง โคนใบแหลมก้านใบยาว หลังใบเรียบเป็นมันเส้นใบนูน ใบอ่อนสีแดง และมีใบประดับเป็นปลอกสีแดงหุ้มในระยะแรก เป็นช่อเส้นผ่าศูนย์กลาง ออกตามลำต้นและกิ่ง จะออกดอกช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ผล กลมแป้นเล็กน้อย ออกตามข้อใบรอบกิ่งก้านผลสั้นคล้ายมะเดื่อ เมื่อติดผลมีผลเป็นจำนวนมาก เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กมากอยู่กระจุกรวมตัวกันภายในผล มีสีขาวชมพูและจำนวนมาก ชอบขึ้นในสภาพพื้นที่ป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง ที่ราบเชิงเขา ริมทุงนาและป่า
ประโยชน์ด้านอาหาร ใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกใช้กินกับแกงเผ็ด ใช้แกงคั่ว แกงเผ็ด แกงกะทิ แกงไตปลา หรือใช้ต้มกะทิกับปลาเค็ม ใบอ่อน มีรสเปรี้ยว
สรรพคุณทางยา

  • เปลือก มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง ท้องร่วง แต่แม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามกินเพราะจะทำให้โรคกำเริบขึ้น

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด และชำ หรือตอนกิ่ง

Ficus lacor Buch 01.jpg Ficus lacor Buch 02.jpg Ficus lacor Buch 03.jpg Ficus lacor Buch 04.jpg