ผักเสี้ยน

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

CLEOMACEAE 1.jpg

วงศ์ CAPPARACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome gynandra Linn.
ชื่อสามัญWild spider flower
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ผักเสี้ยน ผักเสี้ยนบ้าน ผักเสี้ยนขาว ผักเสี้ยนส้ม ผักเสี้ยนตัวผู้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้น ตั้งตรง สูง 15-60 เซนติเมตร แตกแขนงด้านข้าง ลำต้นสีเขียว มีขนละเอียดปกคลุม พอเด็ดหรือหักจะมีน้ำใสๆไหลออกมา ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 2-5 ใบใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น ดอก เป็นช่อ ออกดอกที่ปลายยอดหรือซอกกิ่ง มีกลีบประดับรองรับ ก้านเกสรตัวผู้ยาวมี 6 อัน กลีบรองมี 4 กลีบ บางครั้งแยกกันหรืออาจติดกันช่วงโคนกลีบ กลีบมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก ปกติมี 4 กลีบแยกกัน บางครั้งอาจพบ 2 กลีบ กลีบดอกมักเรียงตัวตรงข้าม โคนกลีบคอดโค้ง เป็นรูปไข่
ประโยชน์ด้านอาหารลำต้น ยอด ใบ และดอกอ่อน ใช้ดองรับประทานเป็นผักจิ้ม หรือต้มกับปลา หมู กระดูกหมู เป็นต้น
สรรพคุณทางยา

  • ลำต้น แก้โรคโลหิตและระดูขาว ฆ่าพยาธิไส้เดือน แก้พิษแมลงป่องต่อย
  • ใบ แก้ปวดเมื่อย ปวดหู พอกรักษาฝีบรรเทาอาการระคายเคือง
  • ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
  • เมล็ด เมล็ด ขับปัสสาวะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน บรรเทาอาการระคายเคือง ผักเสี้ยนดอง มีรสเปรี้ยวร้อน ช่วยบรรเทาอาการมีเสมหะขับเสมหะ

เพาะขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด

CLEOMACEAE 2.jpg CLEOMACEAE 3.jpg CLEOMACEAE 4.jpg CLEOMACEAE 5.jpg