บุกบ้าน

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Amorphophallus sp.jpg

วงศ์ ARACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amorphophallus sp
ชื่อสามัญBuk
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ บุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ บุกบ้าน มีลักษะใกล้เคียงกับบุกคางคก แต่ลำต้นเกลี้ยง และมีสีเขียวอ่อน ไม่มีพิษ อย่างบุกคางคก บุกขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีให้หัวขนาด ใหญ่ได้ในดินร่วนซุย น้ำไม่ขังและดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ใบบุก ใบบุกโผล่เดี่ยวขึ้นมาจากหัวบุก ดอกบุก บุกมีดอกคล้ายต้นหน้าวัว ผลบุก หลังจาากดอก ผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล ผลอ่อน ของบุก มีสีขาวอมเหลือง พออายุ ได้ 1-2 เดือน จะมีผลสีเขียวเข้ม มีจุดดำที่ปลายคล้ายผลกล้วย ผล ของบุกส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เมล็ดภายในแตกต่างกัน พบว่าบุกบางชนิดมีเมล็ดในกลม แต่ส่วนมากมีเมล็ดเป็นรูปทรงอูมยาว ผลแก่ของบุกจะมีสีแดงหรือแดงส้ม บุกคางคกมีจำนวนผลนับได้เป็นพันๆในขณะที่บุกต้นเล็กชนิดอื่นมีจำนวนผลนับร้อยเท่านั้น หัวบุก ต้นใต้ดินหรือหัว (corm) บุกเป็นที่สะสมอาหารมีลักษณะ เป็นหัวขนาดใหญ่ มีรูปร่างพิเศษหลายแบบแตกต่างกันอย่างเด่นชัด นอก จากนี้ผิวของเปลือกก็มีลักษณะสีแตกต่างกันมากด้วย
ประโยชน์ด้านอาหาร ใช้ต้น ใบ และหัวบุกมาทำขนม เช่น ขนมบุก แกงบวชมันบุก แกงอีสาน (แกงลาว) ซึ่งการนำบุกมาทำอาหารจะแตกต่างกันในแต่ละภาค ในภาคใต้นิยมนำหัวบุกมาแกงส้ม ภาคตะวันออกแถบจันทบุรีผู้คนมักฝานหัวบุกเป็นแผ่น บางๆ แล้วนำมานึ่งรับประทานกับข้าว ชาวเขาทางภาคเหนือมักนำมา ปิ้งก่อนรับประทาน ภาคกลางมักนำหัวบุกที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ มาแช่น้ำปูน แช่น้ำก่อนล้างหลายๆ ครั้งแล้วจึงนำไปทำเป็นอาหารหวาน นอกจากนั้นปัจจุบันยังสามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เช่น วุ้นเส้นหัวบุก เยลลี่หัวบุก และอื่นๆ
สรรพคุณทางยา

  • หัวบุก ปัจจุบันสามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ดและใช้หัวหรือเหง้าตัดเป็นชิ้นๆ ไปปลูก

Amorphophallus sp 01.jpg Amorphophallus sp 02.jpg Amorphophallus sp 03.jpg Amorphophallus sp 04.jpg