ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ใบตับเต่า"
จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Cissampelos_pareira_Linn_var_hirsutus.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' MINISPERMACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์...") |
ล (ล็อก "ใบตับเต่า" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแ...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 09:58, 10 พฤศจิกายน 2558
วงศ์ MINISPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissampelos pareira Linn. var. hirsutus
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ เครือหมาน้อย (ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเลื้อย เป็นเครือ พันกับหลักหรือพันกับต้นไม้ ใบเดี่ยว รูปร่างใบเป็นรูปหัวใจ โคนใบแบบก้นปิด หน้าใบและหลังใบมีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ 1 มิลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนปกคลุมหนาแน่นมากกว่าหน้าใบ ก้านใบมีขน
ประโยชน์ด้านอาหาร นิยมทำเป็นอาหารหวานและอาหารคาว เช่น ใบของเครือหมาน้อยใส่ในแกงหน่อไม้แทนใบย่านาง ทำลาบเครือหมาน้อย โดยผสมกับหญ้านางใส่ลงในป่นกบหรือปลาป่นที่ปรุงรสชาดแล้ว หั่นหัวหอม น้ำปลา ข้าวคั่ว ใบหอม และผักชี ผสมน้ำปลาร้า ปรุงรสตามชอบใจ หรือทำเป็นของหวานวุ้นหมาน้อยโดยคั้นผสมกับน้ำใบเตยเติมน้ำตาลให้หวานตามชอบ
สรรพคุณทางยา
- เป็นยาเย็น ช่วยย่อย แก้ท้องเสีย แก้บิด
- ใบ มีสารสำคัญคือ เพคติน มีวิธีการใช้แบบพื้นบ้าน คือ ขยี้ใบเครือหมาน้อยให้เป็นวุ้น แล้วนำมาพอกรักษาฝี อาการปวดบวมตามข้อ หรืออาการอักเสบของผิวหนัง ผดผื่น คัน รวมทั้งจากแมลงสัตว์กัดต่อย ส่วนราก มีรสหอมเย็น มีสรรพคุณแก้ไข้ ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ
- เปลือกต้น