ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ย่านาง"

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Tiliacora_triandra_Diels.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' MENISPERMACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Tiliaco...")
 
(ล็อก "ย่านาง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...)
 
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:07, 10 พฤศจิกายน 2558

Tiliacora triandra Diels.jpg

วงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra Diels
ชื่อสามัญ Thao yanang
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ย่านวันยอ เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว จอยนาง ปู่เจ้าเขาเขียว ขันยอ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
ประโยชน์ด้านอาหาร คนไทยอีสานกับคนลาวสามารถนำพืชผักชนิด มาปรุงอาหาร หลากหลายชนิด เช่นซุบหน่อไม้ แกงเปรอะ แกงหวาย แกงขี้เหล็ก หมกผักกุ่ม เป็นต้น ส่วนคนเขมร และเวียดนามนั้นมีแกงที่ใส่ใบย่านางอยู่ด้วยเหมือนกัน ยอดอ่อน มีการนำมาปรุงเป็นอาหารบ้าง แต่ไม่เป็นที่นิยม เช่นแกงเลียงยอดย่านาง ส่วนใหญ่นิยมนำใบแก่มาคั้นน้ำ แล้วนำมาปรุง
สรรพคุณทางยา

  • นอกจากนั้น ทุกส่วนของย่านาง ยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรต่างๆ อีกมากมาย และเป็นที่นิยมทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำสบู่บำรุงผิว เป็นผลิตเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นทำสบู่บำรุงผิว ยาสระผมบำรุงเส้นผมและขจัดรังแค บำรุงหนังศรีษะ ซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารสุขภาพแล้วยังนำไปย้อมผ้าสีธรรมชาติได้อีกด้วย

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด หรือใช้เหง้าเถาที่เลื้อย

Tiliacora triandra Diels 01.jpg Tiliacora triandra Diels 02.jpg Tiliacora triandra Diels 03.jpg Tiliacora triandra Diels 04.jpg