ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส้มป่อย"
จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Acacia_concinna_Willd_DC.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์'''...") |
ล (ล็อก "ส้มป่อย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลร...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 15:12, 10 พฤศจิกายน 2558
วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC
ชื่อสามัญ Som poi
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ส้มขอน หมากขอน หม่าหัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ส้มป่อยเป็นไม้พุ่ม รอเลื้อยขนาดใหญ่ ตามลำต้นกิ่งก้าน มีหนาม ใบเป็นใบประกอบ แบบนกสองชั้นใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อ กลมเป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ออกตามปลาย กิ่ง ฝักแบนยาว คล้ายถั่วลันเตา สีน้ำตาลดำ ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น มีสารกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20 % ตีกับน้ำจะเกิดฟองคงทนมาก
ประโยชน์ด้านอาหาร ส้มป่อยยอดอ่อนใช้กินเป็นอาหาร มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาแกงส้มปลาน้ำจืด เพราะสามารถดับกลิ่นคาวได้ ต้มกะทิ
สรรพคุณทางยา
- ใบ รสเปรี้ยวฝาดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ขับระดูขาว แก้บิด ฟอกโลหิต แก้โรคตา
- ดอก รสเปรี้ยว ฝาด มัน แก้เส้นเอ็นพิการให้สมบูรณ์
- ฝัก รสเปรี้ยว เป็นยาขับเสมหะแก้ไอ ทำให้อาเจียน แก้น้ำลายเหนียว แก้โรคผิวหนัง ช่วยขจัดรังแคและบำรุงเส้นผม
- เปลือก รสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า เจริญอาหารกัดเสมหะ แก้ไอ ซางเด็ก ต้นรสเปรี้ยวฝาดแก้ตาพิการ
- ราก รสขม แก้ไข้ แก้ท้องร่วง