ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้วยป่า"
(สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Musa_acuminata_Colla.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' MUSACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Musa acuminata''...") |
ล (ล็อก "กล้วยป่า" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 09:42, 10 พฤศจิกายน 2558
วงศ์ MUSACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa acuminata Colla
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ กล้วยแข้ กล้วยลิง กล้วยหม่น ปิซังอูตัง กล้วยเถื่อน กล้วยเถื่อนน้ำมัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นมีนวลเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 40-60 ซม. ยาว 2-3 เมตร ชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านใบสีชมพูอมแดงมักมีประ ดอกออกเป็นช่อเอนคล้ายงวง ส่วนปลายเป็นปลีลักษณะทรงกระสวย ใบประดับรูปไข่กว้างค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงจัด เมื่อเปิดจะม้วนงอออก ภายในมีแถบเกสรที่เรียงตัวคล้ายนิ้วมือหรือหวี ไม่ซ้อนมากหลายชั้น จะบานจากส่วนโคนปลีลงมาหาปลายช่อปลี ผลเป็นหวี ผลเดี่ยวรูปทรงกลมแกมขอบขนาน โคนมน ปลายสอบ โค้งงอเล็กน้อย ผลมีเนื้อบาง สีขาว รสหวาน ภายในมีเมล็ดเรียงอัดแน่นจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา แข็ง พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบเขตร้อน ในประเทศไทยจัดเป็นไม้เบิกนำที่ดี ตามที่ชื้น ชายป่า และหุบเขา ออกดอกติดผลตลอดปี
ประโยชน์ด้านอาหาร หยวก หัวปลี และผลอ่อนใช้เป็นอาหารได้ กินกับน้ำ แกง ได้หลากหลายชนิด ทั้งแกงส้ม แกงเผ็ด ต้มกะทิ ยำ ฯลฯ ส่วนของใบใช้ห่อขนมไทยชนิดต่างๆ
สรรพคุณทางยา
- ยาง สมานแผลห้ามเลือด
- ผลดิบ แก้ท้องเสีย
- ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร
- หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด