ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดีปลากั้ง"
จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Phlogacanthus_pulcherrimus_T_Anderson.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' ACANTHACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์'''...") |
ล (ล็อก "ดีปลากั้ง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแ...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 09:53, 10 พฤศจิกายน 2558
วงศ์ ACANTHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria strigosa Willd.
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ สังกรณี บีปลาข่อ ดีปลาข่อ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มสูง 50-150 ซม. ลำต้น ตั้งตรง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 8-16 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ก้านใบ ยาว 1-3 ซม. ช่อดอก แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด ดอก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง มีสีเขียว รูประฆัง ยาว 5 มม. กลีบดอก สีม่วงอมแดง เชื่อมกันเป็นรูปคนโท ส่วนหลอดกลีบพองออกด้านเดียว ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล แบบแคปซูล ยาว 2.5-3.5 ซม.
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดใบอ่อนรับประทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ยอดใบอ่อนกินกับลาบก้อยป่น
สรรพคุณทางยา
- ราก ต้มแก้ไข้และแก้หืดหอบ โรคความดัน เบาหวาน
- ลำต้น ต้มบำรุงโลหิตบำรุงธาตุขับลมในลำไส้ บำรุงน้ำดี แก้กำเดา ช่วยขับปัสสาวะ
- ใบอ่อน แก้เบาหวาน
- ดอก ใช้ขับลมในลำใส้ ทำให้ผายลมและเรอ