ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำลึง"
(สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Coccinia_grandis_Voigt_C_indica.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' CUCURBITACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''C...") |
ล (ล็อก "ตำลึง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด))) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 09:54, 10 พฤศจิกายน 2558
วงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis Voigt C. indica
ชื่อสามัญPhak tamlueng
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ผักตำลึง ผักแคบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้น เลื้อยพันอาศัยมือเกาะซึ่งเป็นเส้นกลม ๆ สีเขียวยาว เป็นของอคล้านลวดสปริง เป็นเส้นเดี่ยวไม่แตกแขนง ออกตรงกันข้ามกับใบ ใบ เดี่ยวเรียงสลับ ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลมขอบในหยักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ หยักเว้าห้าแฉก เส้นใบแยกจาก โคนใบที่จุดเดียวกัน 5-7 เส้น ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร ดอก เป็นดอก เดี่ยวออกที่ซอกใบ ออกเดี่ยว ๆหรืออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ติดกันเป็นรูประฆัง ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผลอ่อนสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดงสด เมื่อแก่รูปร่างแบบทรงขนาน ภายในมีเมล็ดมาก ออกดอก ระหว่างเดือนเมษายน - ธันวาคมและติดผลเดือนมิถุนายน-มกราคม
ประโยชน์ด้านอาหาร ใบ เถา ผลอ่อน ต้ม ดอง เป็นผักจิ้ม ใบลวกจิ้ม ปรุงแกงจืดหมูสับ แกงเลียง หรือใส่ก๋วยเตี๋ยว แทนถั่วงอก คุณค่าทางอาหารสูงวิตามินเอ แร่ฐาตุ แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก
สรรพคุณทางยา
- ใบและเถา มีเอ็นไซม์ amylase ย่อยแป้งซึ่งทำให้มีอาการท้องอืดเฟ้อ
- ใบ ใบสดล้างสะอาด ตำให้แหลก ผสมน้ำทา ใช้พอกบริเวณที่ปวด ใบใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ ใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด
- เถา นำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
- ดอก ช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
- ราก ใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
- น้ำยางจากต้น ช่วยลดน้ำตาลในเลือด