ยอ

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 15:07, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ยอ" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไ...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Morinda citrifolia Linn.jpg

วงศ์ RUBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia Linn.
ชื่อสามัญ Indian Mulberry
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ มะตาเสือ, ยอบ้าน, แยใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ประโยชน์ด้านอาหาร ใบยอนิยมนำมาทำห่อหมก โดยการนำใบอ่อนใช้เป็นใบรอง ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใบอ่อน หั่นฝอยเป็นผักใส่ข้าวยำ ผลแก่ นิยมนำมาหมักเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
สรรพคุณทางยา

  • ราก เป็นยาระบาย แก้กระษัยราก
  • ใบ แก้ท้องร่วง แก้ปวดตามนิ้วมือนิ้วเท้า แก้ม้ามโต แก้กระษัยราก แก้โรคเก๊าท์ ขับประจำเดือน แก้ไข้ แก้จุกเสียด แก้ไอ แก้คลื่นเหียน แก้บิด บำรุงธาตุ
  • ผล แก้อาเจียน แก้ร้อนในอก ขับผายลมในกระเพาะอาหาร ลำไส้ แก้ตัวเย็น ขับเลือดสตรี แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม แก้ไข้ในกองลมและเสมหะ แก้กระษัยราก บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร รักษาเบาหวาน แก้ไอ
  • เมล็ด เป็นยาระบายและส่วนที่ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้อาเจียน แก้ร้อนในอก แก้ตัวเย็น ขับลม แก้กระษัยราก แก้ท้องร่วง แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม แก้ปวดตามข้อ แก้จุกเสียด ขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ฟอกโลหิตระดูเสีย

เพาะขยายพันธุ์

Morinda citrifolia Linn 01.jpg Morinda citrifolia Linn 02.jpg Morinda citrifolia Linn 03.jpg Morinda citrifolia Linn 04.jpg