ดาหลา

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:41, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Nattawut (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Etlingera_elatior_Jack_R.M._Sm.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' ZINGIBERACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Et...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Etlingera elatior Jack R.M. Sm.jpg

วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Etlingera elatior (Jack) R.M. Sm
ชื่อสามัญTorch ginger
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ กาหลา กะลา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดิน เป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่นเช่นเดียวกับ พวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้น ชนิดพันธุ์ดอกดาหลา มี 3 สี คือ แดง ชมพูและขาว เป็นพรรณไม้คัดดอก เป็นที่ต้องการของตลาดขายดอกไม้
ประโยชน์ด้านอาหาร ดอกดาหลามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือเป็นผักทำข้าวยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้
สรรพคุณทางยา

  • ดอก ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

เพาะขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ หรือเพาะเมล็ดก็ได้ แต่นิยมการแยกหนอมากกว่า

Etlingera elatior Jack R.M. Sm 01.jpg Etlingera elatior Jack R.M. Sm 02.jpg Etlingera elatior Jack R.M. Sm 03.jpg Etlingera elatior Jack R.M. Sm 04.jpg