ดาหลา
จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 08:41, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Nattawut (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Etlingera_elatior_Jack_R.M._Sm.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' ZINGIBERACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Et...")
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Etlingera elatior (Jack) R.M. Sm
ชื่อสามัญTorch ginger
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ กาหลา กะลา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดิน เป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่นเช่นเดียวกับ พวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้น ชนิดพันธุ์ดอกดาหลา มี 3 สี คือ แดง ชมพูและขาว เป็นพรรณไม้คัดดอก เป็นที่ต้องการของตลาดขายดอกไม้
ประโยชน์ด้านอาหาร ดอกดาหลามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือเป็นผักทำข้าวยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้
สรรพคุณทางยา
- ดอก ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
เพาะขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ หรือเพาะเมล็ดก็ได้ แต่นิยมการแยกหนอมากกว่า