ผักเหลียง

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:36, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Nattawut (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Gnetum_gnemon.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' GNETACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Gnetum gnemon'' L.<br/>...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Gnetum gnemon.jpg

วงศ์ GNETACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum gnemon L.
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ เขลียง,, ผักกระเหรี่ยง, เรียนแก่, ผักกะเหรี่ยง, ผักเมี่ยง, เหมียง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โดยธรรมชาติผักเหลียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า เจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ พบได้ทั้งบริเวณเนินเขาและที่ราบในความสูงจากระดับน้ำทะเล 2 – 500 เมตร หรือสูงกว่านั้น ในบริเวณที่มีดินร่วนซุยและมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีต้นไม้ปกคลุมให้ร่มเงาเพียงพอ  ฝนตกชุก  เริ่มออก ดอกในช่วง เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ผลแก่สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ได้ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ผักเหลียงจะออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 5 – 6 ปี ผล จะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย มีผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน
ประโยชน์ด้านอาหาร ผักเหลียงเป็นพืชที่สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิดเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่นิยมปรุงให้สุก เช่นลวก แกงเลียงผัด ต้มกะทิ เป็นต้น เมนูเด็ดของผักเหลียง คือแกงเลียง และผักเหลียงผัดไข่
สรรพคุณทางยา

  • เป็นยาระบายอ่อนๆ

เพาะขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีคือ การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการใช้ต้นจากราก แขนง

Gnetum gnemon 01.jpg Gnetum gnemon 02.jpg Gnetum gnemon 03.jpg Gnetum gnemon 04.jpg