ฝอยทอง

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:37, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Nattawut (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Cuscuta_chinensis_Lamk.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' CONVOLVULACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Cuscuta c...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Cuscuta chinensis Lamk.jpg

วงศ์ CONVOLVULACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cuscuta chinensis Lamk.
ชื่อสามัญ Dodder
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ เครือขาคำ (เหนือ)  ผักไหม (อุดรฯ)  และฝอยไหม (โคราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นต้นไม้ที่เกาะอาศัยอยู่  ลำต้นกลม  เป็นเถาเลื้อยยาว และอ่อนนุ่ม  เป็นสีเหลืองทอง  แตกกิ่งก้านมาก  ใบมีลักษณะเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ  ออกจากลำต้น  โดยออกเรียงสลับ  ใบเป็นสีเหลืองเหมือนสีของลำต้น ดอก  มีขนาดเล็กมาก  บางครั้งมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น  ออกเป็นช่อสีขาว  มีดอกย่อยจำนวนมาก  ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น  ปลายแยกเป็นกลีบดอก  5 กลีบ  ปลายกลีบรูปกลมมน  ผล รูปกลม  ขนาดเล็ก  ดอกออกตลอดปี
ประโยชน์ด้านอาหาร รับประทานเป็นผักสด หรือลวกจิ้มน้ำพริก มีรสจืด
สรรพคุณทางยา

  • ลำต้น ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกินเป็นยาแก้บิด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ตกเลือด ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล แก้โรคดีซ่าน และแก้พิษ หรือใช้ภายนอก โดยการนำเอาลำต้นมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทา หรือพอก บริเวณที่เป็นฝ้า ผดผื่นคัน แผลเรื้อรัง และใช้ห้ามเลือด เป็นต้น
  • เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มน้ำกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ด หรือทำเป็นยาผง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงตับไต แก้ปวดเมื่อยตามอวัยวะ ทำให้ตาสว่าง แก้กระหาย และน้ำกามเคลื่อน เป็นต้น

เพาะขยายพันธุ์

Cuscuta chinensis Lamk 01.jpg Cuscuta chinensis Lamk 02.jpg Cuscuta chinensis Lamk 03.jpg Cuscuta chinensis Lamk 04.jpg