มะกอก

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:39, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Nattawut (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "ภาพ:ANACARDIACEAE1.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' ANACARDIACEAE <br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Spondias pinnata...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

ANACARDIACEAE1.jpg

วงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spondias pinnata (L.f.) Kurz
ชื่อสามัญ Hog plum
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ มะกอก กอก กราไพ้ย ไพ้ย กอกกุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง ลำต้นตรง โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอด เป็นพุ่มกลมโปร่ง ๆ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมีรอยแผลใบปรากฎอยู่ เปลือกนอก สีเทา หนา มีต่อมระบายอากาศมาก เปลือกใน มีทางสีชมพูสลับขาว เรียบ ใบ เป็นช่อชั้นเดียวแบบขนนก ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบตอนปลายกิ่ง ผลสด รูปไข่ เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่ แข็งมาก มีเมล็ดเดียว ผิวเป็นเสี้ยน ขรุขระ ผลแก่ออกสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดกับสัมตำ ลาบ น้ำตกและอาหารประเภทยำที่มีรสจัด น่าแปลกก็ตรงที่เปลือกมะกอกป่า ชาวเหนือนิยมสับผสมลงในลาบ ช่วยให้รสชาดไม่เลี่ยนอร่อยขึ้น ผลแก่นิยมใช้ตำผสมในน้ำพริกหลายชนิด มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ช่วยชูรสให้น้ำพริกอร่อยขึ้น
สรรพคุณทางยา รสฝาดเย็น ทำให้ชุ่มคอ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ท้องร่วง แก้พิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ แก้ปวดใบหู บำบัดโรคธาตุพิการ แก้โรคบิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ยาอาบห้ามละลอก น้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคน้ำกัด แก้ลงท้องปวดมวน ดับพิษกาฬ แก้สะอึก ดับพิษไข้

  • ลำต้น เนื้อไม้ใช้ทำหีบใส่ของ ไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ไม้อัด เยื่อกระดาษ เปลือกให้สีเขียวทำสีย้อมผ้า*ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

เพาะขยายพันธุ์ นิยมใช้เมล็ด และการตอนกิ่ง เพราะว่ามีขนาดใหญ่ ออกดอกระหว่างเดือน ธันวาคม-มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน

ANACARDIACEAE2.jpg ANACARDIACEAE3.jpg ANACARDIACEAE4.jpg ANACARDIACEAE5.jpg