ยอ
จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:41, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Nattawut (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Morinda_citrifolia_Linn.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' RUBIACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Morinda citri...")
วงศ์ RUBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia Linn.
ชื่อสามัญ Indian Mulberry
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ มะตาเสือ, ยอบ้าน, แยใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ประโยชน์ด้านอาหาร ใบยอนิยมนำมาทำห่อหมก โดยการนำใบอ่อนใช้เป็นใบรอง ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใบอ่อน หั่นฝอยเป็นผักใส่ข้าวยำ ผลแก่ นิยมนำมาหมักเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
สรรพคุณทางยา
- ราก เป็นยาระบาย แก้กระษัยราก
- ใบ แก้ท้องร่วง แก้ปวดตามนิ้วมือนิ้วเท้า แก้ม้ามโต แก้กระษัยราก แก้โรคเก๊าท์ ขับประจำเดือน แก้ไข้ แก้จุกเสียด แก้ไอ แก้คลื่นเหียน แก้บิด บำรุงธาตุ
- ผล แก้อาเจียน แก้ร้อนในอก ขับผายลมในกระเพาะอาหาร ลำไส้ แก้ตัวเย็น ขับเลือดสตรี แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม แก้ไข้ในกองลมและเสมหะ แก้กระษัยราก บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร รักษาเบาหวาน แก้ไอ
- เมล็ด เป็นยาระบายและส่วนที่ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้อาเจียน แก้ร้อนในอก แก้ตัวเย็น ขับลม แก้กระษัยราก แก้ท้องร่วง แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม แก้ปวดตามข้อ แก้จุกเสียด ขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ฟอกโลหิตระดูเสีย