กระวาน
จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:41, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "กระวาน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...)
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amomum testaceum Ridl
ชื่อสามัญ cardamon
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้า เป็นพืชวงศ์เดียวกับขิงข่า สูงประมาณ 2 เมตร กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว 15-25 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม
ประโยชน์ด้านอาหาร อาหาร ส่วนหัวใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงเผ็ด เช่นเดียวกับข่า เป็นเพิ่มความเผ็ดร้อนให้กับเครื่องแกง เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ต้นอ่อนใช้แกงกับเนื้อหรืออื่นๆ ตามชอบ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร
สรรพคุณทางยา
- ราก แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาด
- หัวและหน่อ ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง
- เปลือก แก้ไข้ ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้อันเป็นอชินโรค และอชินธาตุ
- แก่น ขับพิษร้าย รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ
- กระพี้ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิต
- ผลแก่ ที่มีอายุ 4-5 ปี (เก็บในช่วงเดือนสิงหาคม-มีนาคม) รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) 5-9 เปอร์เซนต์ มีฤทธิ์ในการขับลม (Carminative) และฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ขับโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ลมเจริญอาหาร รักษาโรค รำมะนาด แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ลมสันนิบาต ผลแก่ของกระวานตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศ
- ใบ แก้ลมสันนิบาต แก้สันนิบาตลูกนก ขับผายลม ขับเสมหะ แก้ไข้เพื่อลม รักษาโรครำมะนาด แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม แก้จุกเสียด บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ไข้อันง่วงเหงา
- เมล็ด แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ
- รากเหง้า ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย