กำจัดต้น

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:45, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "กำจัดต้น" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Zanthoxylum limonella Dennt Alston.jpg

วงศ์ RUTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zanthoxylum limonella ( Dennt.) Alston
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ มะแขว่น, พริกหอม, หมากมาศ, มะข่วง, หมักข่วง, มะแข่น, ลูกระมาศ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม สูงได้ถึง 20 ม. ลำต้นมีหนามแหลม ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายแหลมสีเขียว ใบมีกลิ่นคล้ายมะกรูด ผลกลมขนาดเท่าเม็ดพริกไทย เปลือกสีแดงออกเป็นช่อที่ยอดหรือตามง่ามใบใกล้ยอด ดอกเล็ก แยกเพศ กลีบดอก 4 กลีบ เมื่อแก่แตกออกมีเมล็ดเล็กกลมสีดำผิวมัน ผลมีรสเปรี้ยว ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-7 มม. ผิวขรุขระ เป็นอาหารของคนและสัตว์ป่าบางชนิด เช่น กระรอก กระแต นกป่า ขึ้นตามป่าเขาทั่วไป
ประโยชน์ด้านอาหาร ใช้กินแก้สำหรับอาหารจานที่มีเนื้อสัตว์มาก เพราะช่วยย่อยเนื้อได้ ส่วนที่ใช้ในการประกอบอาหารคือ ใบอ่อนและผล ใบและยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ยำ ผล เป็นเครื่องเทศที่นิยมในภาคใต้และภาคเหนือ โดยเฉพาะทางภาคใต้ นิยมผสมในเครื่องแกง เช่น แกงฟักทอง แกงปลาไหล เป็นต้น ช่วยให้แกงมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอม
สรรพคุณทางยา

  • ใบ รสเผ็ด ต้มน้ำอมบวมปาก แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ด รสเปรี้ยว กินสด แก้ลมวิงวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ
  • เนื้อไม้ รสร้อนขื่น ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลม หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ขับระดู
  • เมล็ด ตากแห้ง ใช้ใส่ลาบ หรือแกง ทำให้มีกลิ่นหอม

เพาะขยายพันธุ์

Zanthoxylum limonella Dennt Alston 01.jpg Zanthoxylum limonella Dennt Alston 02.jpg Zanthoxylum limonella Dennt Alston 03.jpg Zanthoxylum limonella Dennt Alston 04.jpg