แค

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:46, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "แค" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไ...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Sesbania grandiflora Pers.jpg

วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora Pers.
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ แคบ้าน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แคเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีรอยขรุขระหนา ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมีขนาดเล็กรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ปลายใบมนกว้าง ดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกแบบช่อตรงซอกใบ มีสีขาว ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว 30-50 เซนตริเมตร สีเขียวอ่อน ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เมล็ดมีลักษณะเหมือนลิ่ม
ประโยชน์ด้านอาหาร ดอกนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่นลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้ม ผัดน้ำมันหอย ยอดอ่อน และฝักอ่อน ก็สามารนำมาลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม ก็อร่อยไม่แพ้ดอก
สรรพคุณทางยา

  • ราก แก้เสมหะ แก้ลม แก้บาดแผล ชำระล้างบาดแผล แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้พยาธิ แก้ตกโลหิต
  • เปลือก แก้ท้องร่วง แก้บิด ชำระล้างบาดแผล สมานแผล บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาฝาดสมาน ทำให้จิตใจผ่องแผ้ว แก้ท้องผูก ห้ามเลือด รักษาแผลโรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้พยาธิ แก้ตกโลหิต
  • ใบ แก้ไข้เปลี่ยนฤดู แก้ริดสีดวงจมูก แก้ปวดศีรษะ เป็นยาระบาย แก้ลม บำรุงหัวใจ คุมธาตุ บำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ รักษาแผล แก้นอนไม่หลับ ถอนพิษไข้ พิษร้อน
  • ดอก แก้ริดสีดวงจมูก แก้ปวดศีรษะ แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต รักษาแผล บำรุงกำลัง เจริญอาหาร
  • เปลือกดอก แก้ปวดฟัน เหงือกบวม ผล แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้พยาธิ

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

Sesbania grandiflora Pers 01.jpg Sesbania grandiflora Pers 02.jpg Sesbania grandiflora Pers 03.jpg Sesbania grandiflora Pers 04.jpg