บังบาย

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:57, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "บังบาย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

LEEACEAE1.jpg

วงศ์ LEEACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leea indica Merr.
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ บังกาย ฝีเสื้อ กะตังบาย(ภาคใต้) กะตังแดง (กรุงเทพ) , เขือง บังใบ กะตังใบ กะตังบาย (ภาคกลาง) , กะลังใบ เขืองแขงม้า (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นออกเป็นพุ่มโปร่ง สูงประมาณ 3 เมตรลักษณะใบใบเลี้ยงคู่ ใบเรียว ปลายแหลม ขอบใบเป็นหยัก ผิวหน้ามัน หลังใบมีเส้นใบนูน ก้านใบแต่ละก้านมีใบ 3-5 ใบ แตกออกเป็นชิ้น ๆ ตามข้อลำต้นลักษณะดอกดอกตูมสีเขียว ออกดอกส่วนยอด ดอกบานสีขาว ลักษณะผลผลแก่สีเขียว ผลสุกสีดำ
ประโยชน์ด้านอาหาร อาหาร ยอดอ่อน ยอด ดอกใช้เป็นอาหารประเภทใช้ยอด ผลอ่อน และดอกทำผักเหนาะรสชาติฝาด มัน
สรรพคุณทางยา

  • ราก ยา รากใช้ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้บิดและแก้ท้องร่วง เป็นยาพื้นบ้านอีสานใช้รากผสมลำต้นขมิ้นเครือ ลำต้นเมื่อยดูกและรากตากวาง ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสียภาคเหนือใช้เข้าตำรับยาดองเหล้าบำรุงกำลังเรียกว่าเขืองแข้งม้า โดยใช้ส่วนของรากรากแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายและช่วยขับลม

LEEACEAE2.jpg LEEACEAE3.jpg LEEACEAE4.jpg LEEACEAE6.jpg LEEACEAE7.jpg