ผักก้านตรง

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:01, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ผักก้านตรง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดู...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Colubrina asiatica Brongn.jpg

วงศ์ RHAMNACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Colubrina asiatica Brongn.
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ผักคันทรง ผักก้านถึง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หน้าตาคล้ายๆ ผักหวานบ้าน มีหลายชื่อแล้วแต่ละท้องถิ่นจะเรียกผักคันทรง ผักก้านตรง ผักก้านถึง เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 2-3 เมตร กิ่งก้านเล็กกลม สีเขียวใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปหอกกว้าง 1.5- 2 ซม. 3-4 ซม. ปลายและฐานใบแหลม ขอบใบหยัก เส้นใบมี 3 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างดอกขนาดเล็กสีเหลืองปนเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆออกตามซอกใบตามกิ่งก้านเรียงเป็นแถว เป็นช่อเล็กๆ ดอกย่อย 8-14 ดอกดอกรูปจาน ดอกบานกว้างประมาณ 0.2-0.3 ซม. ก้านดอกสั้นยาว0.3-0.4 ซม.รูปกลมแป้นสีเขียวเข้ม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.6 ซม.
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อนสามารถนำมาปรุงอหารได้หลากหลายชนิด เช่น ลวกกินกับน้ำพริก ผักรองห่อหมก ผัดน้ำมัน แกงส้ม แกงเลียง
สรรพคุณทางยา

  • รากผักก้านตง เป็นสมุนไพรที่หมอยาอีสานใช้มากตัวหนึ่ง มีสรรพคุณเย็น แก้พิษร้อนถอนพิษไข้ นิยมใช้ร่วมกันสามสหาย คือ รากย่านาง รากผักหวานบ้าน รากผักก้านตง เป็นยาหลักในตำรับยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้ออกตุ่มต่างๆ
  • ใบและเปลือก ต้มอาบแก้บวมเนื่องจากไตและ หัวใจพิการ แก้น้ำเหลืองเสียแก้เหน็บชา

เพาะขยายพันธุ์ การปักชำ และเพาะเมล็ด

Colubrina asiatica Brongn 01.jpg Colubrina asiatica Brongn 02.jpg Colubrina asiatica Brongn 03.jpg Colubrina asiatica Brongn 04.jpg