ผักไห่
วงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ลูกยอง,มะระขี้นก, มะห่อย, มะไห่(เหนือ), ผักไห่, ผักเหย, ลูกระ(ใต้), มะร้อยรู, โคกวย (จีน), มะระเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เลื้อย พันต้นไม้อื่น มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับลักษณะคล้ายใบแตงโม แต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบใบหยัก เว้าลึก ปลายใบแหลม ดอก ออกดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรมีสีเหลืองแก่ถึงส้ม กลีบดอกบาง ช้ำง่าย ผล ผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ด เมล็ดสุกมีสีแดงสด รูปร่าง กลม แบน ในภาคใต้มีพันธ์มะระขี้นก อีกชนืดหนึ่ง ชื่อท้องถิ่นเรียก “ลูกยอง” มีลักษณะคล้ายผักไห่ และมะระขี้นก มาก แต่ใบแตกต่างกันใบลูกยองมีสักษณะคล้ายรูปหัวใจ และไม่มีขน และผลคล้ายกันแต่ลูกยองมีลักษณะสั้นกว่า ผิวขรุขระน้อยกว่า มีปุ่มยื่นออกมาเป็นแถวๆ
ประโยชน์ด้านอาหาร อาหาร ยอดอ่อน นำมาแกงเผ็ด ลวกจิ้มน้ำพริก ผลอ่อน สามารถรับประทานสดได้ ลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงเผ็ด
สรรพคุณทางยา
- ผลแห้ง รักษาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง
- ผล รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน ร้อนในกระหายน้ำทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวมเป็นหนอง ฝีอักเสบ
- เมล็ด รสขม ชุ่ม ไม่มีพิษ แก้วัวถูกพิษใช้คั้นเอาน้ำให้กิน เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
- ใบ แก้โรคกระเพาะ บิด แผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ
- ดอก รสขม เย็นจัด ใช้แก้บิด
- ราก รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดถ่ายเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ และปวดฟัน
- ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้ามอักเสบ แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย ปากเป็นฝ้าขาวขุน บำรุงระดู แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ รักษาโรคเบาหวาน แก้หอบหืด ปวดข้อเป็นเกาต์ แก้จุกเสียด แน่นท้อง และขับลมบำรุงธาตุ จะช่วยดูดพิษ ลดการอักเสบเป็นหนองได้ รักษามะเร็งเต้านม และมะเร็งสมอง แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้แผลอักเสบ สมานแผล