ลูกเนียง
วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Archidendron jiringa Nielsen
ชื่อสามัญ luk nieng, Djenkol bean fruit
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ พะเนียง (กลาง) ชะเนียง (จันทบุรี) ยือริง (มุสลิมภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เนียงเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง เมล็ดมีลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว 2 ฝา
ประโยชน์ด้านอาหาร ลูกเนียงหรือเมล็ดเนียง เป็นผักที่ นิยมรับประทานกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย เรา ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสด ใช้ลูกอ่อนปอก เปลือกจิ้มน้ำพริก หรือรับประทานร่วมกับอาหารรส เผ็ด หรือบริโภคลูกเนียงเพาะ (นำลูกเนียงไปเพาะในฟางจนต้นอ่อนงอก) ลูกเนียงดอง หรือทำให้สุก โดยต้มหรือย่าง ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทาง อาหาร คือ มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน วิตามิน กรดโฟลิค และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด และมี กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 8 ชนิด บางคนรับประทานแล้วเกิดอาการผิดปกติ หรือเกิดอาการแพ้ ชาวบ้านเรียกว่า “เนียงมัด” มักเกิดอาการภายใน 2-14 ชม. ภายหลังรับประทาน เริ่มด้วยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ (anuria) ปัสสาวะขุ่นข้น บางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องแบบ colic ปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง
สรรพคุณทางยา
- เปลือกหุ้มเมล็ด ช่วยแก้โรคเบาหวาน
- ใบ นำมาพอแก้โรคผิวหนัง
เพาะขยายพันธุ์ นำเมล็ดแก่จัดมาเพาะในดินร่วน เมื่อเริ่มแตกหน่อสูงประมาณ 30 ซม.จึงเริ่มนำลงแปลงปลูก