โสน

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 15:13, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "โสน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Sesbania aculeata.jpg

วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania aculeata
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ โสน  โสนดอกเหลือง  ภาคเหนือเรียก  ผักฮองแฮง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง  เป็นพืชไม้พุ่ม พุ่มขนาดกลางลำต้นสูงเปราะบาง  มีกิ่งก้านห่างๆ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายกับใบมะขาม  หรือใบกระถิน  ออกดอกสีเหลืองสวยงามดี  ดอกของโสนคล้ายดอกแคแต่ดอกเล็กกว่ามาก  มีฝักยาวออกมาเมื่อดอกแก่จัดร่วงไปแล้วมีเมล็ดในฝักคล้ายกับถั่วเขียว  แต่ฝักยาวกว่ามาก   ลำต้นเปราะเพราะไม่มีแก่นการปลูก  ต้นโสนนี้ขึ้นเองอยู่โดยทั่วไป  โดยเฉพาะตามริมคูน้ำ  ริมคลอง  ในที่ชื้นแฉะ  เป็นพืชที่ขึ้นง่าย 
ประโยชน์ด้านอาหาร เอาดอกโสนมาผัดน้ำมันเล็กน้อย หรือเอามาลวกแล้วจิ้มน้ำพริกรับประทานเป็นอาหารได้เลย ใช้ผสมกับไข่ทอดเป็นไข่เจียว หรือคนสมัยเก่านิยมทำขนมดอกโสนกัน
สรรพคุณทางยา

  • ต้นโสน มาเผาไฟให้เกรียม แล้วเอามาต้มชงเอาน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสวะได้ดีทีเดียว 
  • ดอกโสน มาผัดน้ำมันเล็กน้อย หรือเอามาลวกแล้วจิ้มน้ำพริกรับประทานเป็นอาหารได้เลย เป็นยาแก้ปวดมวนท้องได้ดีอย่างหนึ่งด้วย

เพาะขยายพันธุ์ มักจะไม่มีใครปลูกกันนัก  ถ้าจะปลูกก็ต้องเอาเมล็ดมาหว่านต้นโสนจะขึ้นเองอย่างง่ายดาย  ไม่บำรุงรักษาอะไรเลยก็งอกงามดี

Sesbania aculeata 01.jpg Sesbania aculeata 02.jpg Sesbania aculeata 03.jpg Sesbania aculeata 04.jpg