กระสัง

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

Peperomia pellucida 02.png

วงศ์ PIPERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peperomia pellucida
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ผักกระสัง, ชากรูด, ตาฉี่โพ, ผักกระสัง, ผักกูด, ผักราชวงศ์, ผักสังเขา, ผักฮากกล้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก สูงประมาณ 25 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวใส ใบสีเขียวอ่อน รูปหัวใจ รูปร่างคล้ายใบพลู ต้นและใบอวบน้ำ ออกดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก คล้ายช่อดอกของพริกไทย
ประโยชน์ด้านอาหาร ยำผักกะสัง ทำได้ง่ายๆ หั่นผักชิ้นพอประมาณ 1-2 ทัพพี น้ำมะนาว 1-2 ช้อนโต๊ะ กุ้งแห้ง 1-2 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้งทอด พอประมาณ มะม่วงซอย 1-2 ช้อนโต๊ะ หัวหอมซอย พอประมาณ แครอทซอยฝอยๆ 1-2 ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสงคั่ว พอประมาณ ขิงซอย 1-2 ช้อนโต๊ะ หมูหยอง พอประมาณ โหระพา สะระแหน่ ไว้แต่งรส น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1-2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นรวมเครื่องปรุงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ปรุงรสตามใจชอบ พร้อมตักเสิร์ฟได้เลย
สรรพคุณทางยา

  • มักจะใช้ผักกระสังตำพอกฝี หรือคั้นเอาน้ำทาแผลฝีที่มีหนอง ผักกระสังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ใบยังนำมารักษาโรคลักปิดลักเปิด แก้ไข้ แก้อักเสบ
  • โดยวิธีการต้มให้นำผักกระสังต้นยาวสัก 20 ซม. ต้มกับน้ำ 2 แก้ว ให้เหลือประมาณ 1 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ครึ่งแก้ว เช้า-เย็น
  • ใช้ตำพอกฝี

เพาะขยายพันธุ์

Peperomia pellucida.png Peperomia pellucida 01.png Peperomia pellucida 03.png Peperomia pellucida 04.png