ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุกคางคก"

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Amorphophallus_paeoniifolius.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' ARACEAE<br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Amorphopha...")
 
(ล็อก "บุกคางคก" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...)
 
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 09:57, 10 พฤศจิกายน 2558

Amorphophallus paeoniifolius.jpg

วงศ์ ARACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amorphophallus paeoniifolius
ชื่อสามัญElephant yam
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ บุกหนาม บุกหลวง บุกคุงคก หัวบุก  เบีย  เบือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ บุกเป็นพืชป่าล้มลุกที่พบทั่วไปทุกภาคของประเทศ โดยขึ้นอยู่ตาม ชายป่า มีหัวใต้ดินสีน้ำตาล ใบเดี่ยว แผ่ออกไปคล้ายกับร่ม - หยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ก้านใบกลม อวบน้ำ ลักษณะกลมเรียว ยาวประมาณ 80-150 ซม. ลายสีเขียวและแดง ช่อดอกแทงจากหัวใต้ดิน ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมสีน้ำตาล ก้านช่อสั้น ใบประดับรูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่นและบานออก ผลเป็นผลสดเนื้อนุ่ม สีแดง พบมากในป่า หรือในสวนในภาคใต้ มีลักษณะคล้ายบุกบ้านมาก แต่ลำต้นจะไม่เหมือนกัน บุกบ้านมีลำต้นเกลี้ยง ไม่ขรุขระ เหมือนบุกคางคง
ประโยชน์ด้านอาหาร ต้นอ่อน เผา แล้วลอกเปลือกออก จิ้มน้ำพริก หรือลวกกะทิ แต่ต้องปอกเปลือกออกให้หมด ก่อนที่จะนำบุกมาปรุงอาหาร ควรจะนำมาต้มหรือลวกน้ำก่อน ต้มในขณะที่น้ำเดือด เพื่อไม่ให้เกิดอาการคัน แต่ไม่เป็นที่นิยมนำมาเป็นอาหารมากนักเนื่องจากหากขั้นตอนการปรุงไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดอาการคันหรือแพ้ อย่างรุนแรง
สรรพคุณทางยา

  • หัว ใช้กัดเสมหะ กัดเถาดานและเลือดก้อน หรือใช้หุงเป็นน้ำมันใส่บาดแผล กัดฝ้า กัดหนอง

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ดและใช้หัวหรือเหง้าตัดเป็นชิ้นๆ ไปปลูก

Amorphophallus paeoniifolius 01.jpg Amorphophallus paeoniifolius 02.jpg Amorphophallus paeoniifolius 03.jpg Amorphophallus paeoniifolius 04.jpg