ผักกาดนกเขา

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:00, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ผักกาดนกเขา" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ด...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

COMPOSITAE 1.jpg

วงศ์ COMPOSITAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura pseudochina DC
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ หางปลาช่อน ผักแดง ผักบั้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว สูง 30 - 50 ซม. ลำต้นตรง ลำต้นปกคลุมด้วยขนนุ่มทั่วไป ใบมีขนาดยาว 2 - 5 ซม. ก้านใบห่อหุ้มลำต้น ปลายใบแหลม เรียว โคนใบกว้าง ใบรูปไข่รี มีขน ริมขอบใบหยักเว้า หลังใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีม่วงแดง ดอกเป็นช่อ ออกกลางลำต้น ช่อหนึ่งจะแตกเป็น 2 - 3 แขนง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกส่วนโคนจะเชื่อมติดเป็นรูปท่อ ดอกมีสีม่วงแดง ผลเป็นผลเดี่ยวเปลือกแข็ง
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงคั่วพริกกับปลาย่าง จิ้มน้ำพริก หรือลาบ ออกยอดมากในช่วงฤดูฝน
สรรพคุณทางยา

  • ใบ มีรสจืด เย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย
  • ลำต้น แก้เจ็บคอ ฝี บิด ท้องร่วง แก้อาการผื่นคัน บวมน้ำ
  • ราก สรรพคุณ แก้โรคตานซางขโมย
เพาะขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด

COMPOSITAE 2.jpg COMPOSITAE 3.jpg COMPOSITAE 4.jpg COMPOSITAE 5.jpg