ผักกาดปลิว

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:00, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ผักกาดปลิว" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดู...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Crassocephalum crepidioides Benth.jpg

วงศ์ COMPOSITAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crassocephalum crepidioides (Benth) S.Moore -Erechtites valerianaefolia
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ หญ้าดอกฟุ้ง ผักกาดหัวปลิว ผักกาดฤาษี ตังโอ ผักกาดลม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 3-5 ฟุต ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวอ่อนลักษณะใบใบกว้างประมาณ 3-5 นิ้ว ขอบใบเป็นหยัก ผิวใบมีขน หลังใบขรุขระ ดอกอ่อนมีสีแดงเรื่อๆ ดอกเมื่อบานเหมือนปุยนุ่น เกสรสีแดงอ่อนและเมื่อดอกแก่จะปลิวตามลม เมื่อไปตกตรงไหนก็จะเจริญเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ชอบที่ป่าโปร่ง มีแสงแดดเพียงพอ ชาวบ้านมักมองว่าเป็นวัชพืช
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อน ใบ ดอกอ่อนกินสด ผัด ลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม (ลำต้นอ่อน) หรือใช้ยอด ใบ ดอง (เหมือนผักกาด) รสชาติรสเย็น มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ดอกแก่ และต้นอ่อน
สรรพคุณทางยา

  • บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ซาง

เพาะขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด

Crassocephalum crepidioides Benth 01.jpg Crassocephalum crepidioides Benth 02.jpg Crassocephalum crepidioides Benth 03.jpg Crassocephalum crepidioides Benth 04.jpg