ผักโขม

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

AMARANTHACEAE1.jpg

วงศ์ AMARANTHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amarantrus lividus Linn.
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ผักขม ผักขมหัด ผักโขมหัด ผักขมหวาน ผักโขมเกลี้ยง ผักโหม ผักโหมเกลี้ยง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุก มีระบบรากแก้ว ลำต้น ตั้งตรง เกลี้ยงไม่มีขน �มีรอยแตกเป็นร่องยาว ลำต้นสีม่วงแดงปนเขียว แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ทรงพุ่มสูง 30-60 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ ถึงรูปไข่ ปลายใบ แหลมขอบใบเรียบ มีรอยหยักเล็กน้อยบริเวณปลายใบ ก้านใบเรียวเล็กเรียงสลับ ดอก เป็นช่อตั้งตรงแตกแขนง ดอกออกตามปลายยอดและซอกใบดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันคนละดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีน้ำตาลม่วงปนเขียว ช่อดอกยาว 10 -.15 เซนติเมตร ผลรูปกลมรี เมื่อแก่อาจแตกหรือไม่แตกก็ได้เมล็ด ขนาดเล็ก สีน้ำตาลเข้มถึงดำเป็นมัน
ประโยชน์ด้านอาหาร ลำต้น ยอด ใบ และช่อดอกอ่อนรับประทานเป็นผักต้ม ลวก จิ้มน้ำพริก แกงจืด แกงเลียง ต้มกะทิ แกงอ่อมผัดน้ำมัน ในบางท้องถิ่นนำต้นมาสับเป็นอาหารสุกร
สรรพคุณทางยา

  • ต้มน้ำ ดื่ม แก้อาการแน่นน่าอก แก้ไข้ หอบราก รสขมเย็น ถอนพิษถอนพิษไข้หัวลม ไข้หวัด แก้ร้อนใน แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ต้มอาบแก้คัน ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม

เพาะขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดนิเวศวิทยาและการ พบได้ทั่วทุกภาค ในไร่สวน ที่รกร้างทั่วไป ดินร่วนซุย ชุ่มชื้น ค่อนข้างร่ม พบได้ตลอดปี

AMARANTHACEAE2.jpg AMARANTHACEAE3.jpg