มันปู

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:40, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Nattawut (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "ภาพ:Glochidion_Perakense_Hook.jpg<br/><br/> '''วงศ์''' EUPHORBIACEAE <br/> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' ''Glochi...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Glochidion Perakense Hook.jpg

วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Glochidion littorale Hook.F.
ชื่อสามัญ Man pu
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พบได้ในป่าดิบ   ที่ราบเชิงเขา  ที่ราบลุ่ม   ชาวบ้านนำมาปลูก  บริเวณบ้าน  หรือบริเวณสวนใกล้บ้าน มันปูเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่  สูงประมาณ 15 เมตร ใบเป็นใบเดียว ก้านใบสั้นประมาณ 5 ซม. ออกแบบสลับ ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ขอบใบเรียบ  ปลายใบแหลม โคนใบมัน ใบกว้าง 3 - 5.5 ซม.ใบยาว 7 - 14 ซม.หน้าใบสีเขียว ออกมันเล็กน้อย หลังใบเขียวอ่อนกว่าหน้าใบ ใบอ่อนและก้านอ่อนมีสีเขียว หรือสีเขียวอมแดง ดอกเป็นช่อ ดอกช่อขนาดเล็ก
ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อนใช้เป็นผักรับประทาน เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก หรือรับประทานกับขนมจีน  มันปูยอดสีขาว  รสมัน  อร่อย  ถ้ามันปูที่ยอดสีแดง จะมี รสฝาด
สรรพคุณทางยา

  • ราก ลำต้น แก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง

เพาะขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์ทำได้โดย ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด

Glochidion Perakense Hook 01.jpg Glochidion Perakense Hook 02.jpg Glochidion Perakense Hook 03.jpg Glochidion Perakense Hook 04.jpg