แมงลัก

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 15:06, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "แมงลัก" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Ocimum basilicum.jpg

วงศ์ LABIATAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum americanum
ชื่อสามัญ Hoary basil
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ก้อมข้าว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แมงลัก เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา ลักษณะของต้นแมงลักจะคล้ายต้นกะเพรา ต่างกันที่กลิ่น และใบจะมีสีเขียวจางกว่าใบกะเพรา มีกลิ่นหอมทุกส่วน ใบเป็นใบเดี่ยวทรงรีหรือรูปหอกหรือรี ขอบใบเรียบ บ้างมีขอบหยักมน มีกลิ่นหอมคล้าย ตะไคร้ ดอกออกช่ออยู่ปลายยอด ช่อดอกจะออกเรียงเป็นชั้นๆ กลีบดอกมีสีขาวออกเป็นวงรอบก้าน ผลจะเป็นผลชนิดแห้ง ภายในมี 4 ผลย่อย เรียกว่า เมล็ดแมงลัก
ประโยชน์ด้านอาหาร ใบแมงลักใช้กินสด ส่วนมากจะนิยมกินกับขนมจีน หรือใส่แกงเลียง แกงหน่อไม้ แก่งอ่อม และแกงต่างๆ
สรรพคุณทางยา

  • เมล็ดแมงลัก ช่วยการขับถ่ายเพราะเปลือกภายนอกจะสามารถพองตัวได้ถึง 45 เท่า โดยไม่ถูกย่อยทำให้เพิ่มกากและหล่อลื่น ทำให้ขับถ่ายสะดวก นิยมนำมาทำเป็นขนมหวานและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

เพาะขยายพันธุ์ สามารถปลูกได้โดยใช้กิ่งชำหรือใช้เมล็ดเพาะ

Ocimum basilicum 01.jpg Ocimum basilicum 02.jpg Ocimum basilicum 03.jpg Ocimum basilicum 04.jpg