ใบหูเสือ

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:59, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ใบหูเสือ" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Plectranthus amboinicus Lour Spreng.jpg

วงศ์ LABIATAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng
ชื่อสามัญ Indian borage
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ หอมด่วนหลวง (เหนือ), ผักหูเสือ, เนียมอีไหลหลึง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หูเสือเป็นไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก ใบสีเขียว รูปร่างกลมรี ปลายมน ลักษณะใบหนา กรอบ และมีขนอ่อนทั่วไป ริมใบจักเป็นคลื่นมนรอบ ๆ ใบ ขยี้ใบดมดูจะมีกลิ่นหอม คล้ายพิมเสน เป็นไม้ล้มลุกอายุ 2-3 ปี สูงประมาณ 20-40 ซม. ลำต้นอวบน้ำ หักได้ง่าย ใบสีเขียวอ่อน รูปร่างกลมรี โคนใบสอบปลายใบมน ลักษณะใบหนา กรอบ และมีขนอ่อนทั่วไป ริมขอบใบจักเป็นคลื่นมนรอบๆ ใบ แผ่นใบนูน เส้นใบลึก ดอก เป็นช่อสีม่วงขาว
ประโยชน์ด้านอาหาร นิยมนำมารับประทาน เป็นผักสดแกล้มกับอาหารเภทลาบ ยำ ก้อย และน้ำพริก เพื่อดับกลิ่นคาวและทำให้อาหารมีกลิ่นหอม
สรรพคุณทางยา

  • รักษาโรคหูน้ำหนวก ปวดหูบ่อยๆ หรือเป็นฝีในหู ให้ใช้น้ำคั้นจากใบหูเสือมาหยอดหูจะช่วยรักษาโรคดังกล่าวได้ เด็กๆที่มีอาการท้องอืดก็ให้นำใบหูเสือมาขยี้แล้วทาท้องเด็กแก้ท้องอืดได้

เพาะขยายพันธุ์ โดยปักชำยอด

Plectranthus amboinicus Lour Spreng 01.jpg Plectranthus amboinicus Lour Spreng 02.jpg Plectranthus amboinicus Lour Spreng 03.jpg Plectranthus amboinicus Lour Spreng 04.jpg