ขี้เหล็ก

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:45, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ขี้เหล็ก" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Cassia siamea Lamk.jpg

วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna siamea (Lam.)
ชื่อสามัญ Cassod tree
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กใหญ่, ผักจี้ลี้, แมะขี้เหละพะโดะ, ยะหา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวาง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ
ประโยชน์ด้านอาหาร ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหาร แกงเผ็ดปลาย่าง หรือหมูสับ ขี้เหล็กมีรสขม ต้องต้ม รินน้ำทิ้งก่อนนำไปปรุงอาหาร หรือทำเป็นผักจิ้มจะช่วยระบายท้องได้ดีทั้งดอกตูมและใบอ่อนมีสารอาหารหลายอย่างคือ วิตามิน เอ และวิตามินซี ค่อนข้างสูงในดอกมีมากกว่าใบเอาใบขี้เหล็กมาบ่มรวมกับผลไม้จะช่วยทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น
สรรพคุณทางยา ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต
เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

Cassia siamea Lamk 01.jpg Cassia siamea Lamk 02.jpg Cassia siamea Lamk 03.jpg Cassia siamea Lamk 04.jpg