ย่านาง

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 15:07, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ย่านาง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Tiliacora triandra Diels.jpg

วงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra Diels
ชื่อสามัญ Thao yanang
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ย่านวันยอ เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว จอยนาง ปู่เจ้าเขาเขียว ขันยอ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
ประโยชน์ด้านอาหาร คนไทยอีสานกับคนลาวสามารถนำพืชผักชนิด มาปรุงอาหาร หลากหลายชนิด เช่นซุบหน่อไม้ แกงเปรอะ แกงหวาย แกงขี้เหล็ก หมกผักกุ่ม เป็นต้น ส่วนคนเขมร และเวียดนามนั้นมีแกงที่ใส่ใบย่านางอยู่ด้วยเหมือนกัน ยอดอ่อน มีการนำมาปรุงเป็นอาหารบ้าง แต่ไม่เป็นที่นิยม เช่นแกงเลียงยอดย่านาง ส่วนใหญ่นิยมนำใบแก่มาคั้นน้ำ แล้วนำมาปรุง
สรรพคุณทางยา

  • นอกจากนั้น ทุกส่วนของย่านาง ยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรต่างๆ อีกมากมาย และเป็นที่นิยมทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำสบู่บำรุงผิว เป็นผลิตเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นทำสบู่บำรุงผิว ยาสระผมบำรุงเส้นผมและขจัดรังแค บำรุงหนังศรีษะ ซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารสุขภาพแล้วยังนำไปย้อมผ้าสีธรรมชาติได้อีกด้วย

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด หรือใช้เหง้าเถาที่เลื้อย

Tiliacora triandra Diels 01.jpg Tiliacora triandra Diels 02.jpg Tiliacora triandra Diels 03.jpg Tiliacora triandra Diels 04.jpg