เพกา

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 15:03, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "เพกา" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Oroxylum indicum L Kurz.jpg
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz
ชื่อสามัญ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ ลิ้นฟ้า (เหนือ) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง แตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง
ประโยชน์ด้านอาหาร ฝักอ่อน เผา รับประทานกับน้ำพริก หรือแกงเผ็ด   ยอดอ่อนลวกรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก
สรรพคุณทางยา

  • ใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผล แก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด

เพาะขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำ

Oroxylum indicum L Kurz 01.jpg Oroxylum indicum L Kurz 02.jpg Oroxylum indicum L Kurz 04.jpg Oroxylum indicum L Kurz 04.jpg