ไทรเลียบ

จาก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชผักป่าพื้นบ้านภาคใต้ที่มีอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 09:56, 10 พฤศจิกายน 2558 โดย Chakkrit (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (ล็อก "ไทรเลียบ" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

Ficus lacor Buch.jpg

วงศ์ MORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus infectoria Roxb.
ชื่อสามัญLiap
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ไท้แมงดา แมงดาต้น ชะมัง กาดสลอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกบางและเรียบ ผลัดใบพร้อมกันทั้งต้น หลังผลัดใบจะแตกใบอ่อนเร็วมาก ใบเป็นเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลมมีหาง โคนใบแหลมก้านใบยาว หลังใบเรียบเป็นมันเส้นใบนูน ใบอ่อนสีแดง และมีใบประดับเป็นปลอกสีแดงหุ้มในระยะแรก เป็นช่อเส้นผ่าศูนย์กลาง ออกตามลำต้นและกิ่ง จะออกดอกช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ผล กลมแป้นเล็กน้อย ออกตามข้อใบรอบกิ่งก้านผลสั้นคล้ายมะเดื่อ เมื่อติดผลมีผลเป็นจำนวนมาก เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กมากอยู่กระจุกรวมตัวกันภายในผล มีสีขาวชมพูและจำนวนมาก ชอบขึ้นในสภาพพื้นที่ป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง ที่ราบเชิงเขา ริมทุงนาและป่า
ประโยชน์ด้านอาหาร ใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกใช้กินกับแกงเผ็ด ใช้แกงคั่ว แกงเผ็ด แกงกะทิ แกงไตปลา หรือใช้ต้มกะทิกับปลาเค็ม ใบอ่อน มีรสเปรี้ยว
สรรพคุณทางยา

  • เปลือก มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง ท้องร่วง แต่แม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามกินเพราะจะทำให้โรคกำเริบขึ้น

เพาะขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด และชำ หรือตอนกิ่ง

Ficus lacor Buch 01.jpg Ficus lacor Buch 02.jpg Ficus lacor Buch 03.jpg Ficus lacor Buch 04.jpg