นกกาฝากอกเหลือง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Prionochilus maculatus01.jpg

วงศ์ : Dicaeidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prionochilus maculatus (Temminck and Laugier) 1815.
ชื่อสามัญ : Yellow-breasted Flowerpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Yellow-throated Flowerpecker

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionochilus maculatus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ =macula, -t หรือ maculare แปลว่าลายจุด ความหมายคือ “นกที่เป็นลายจุด” พบครั้งแรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Prionochilus maculatus septentrionalis Robinson and Boden Kloss ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ septentrion, -al แปลว่าตอนเหนือ ความหมายคือ “นกที่พบทางตอนเหนือ” พบครั้งแรกที่จังหวัดระนอง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของบริเวณที่พบนกต้นแบบ และ Prionochilus maculatus obitus (Mayr) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ obit, =us แปลว่าลักษณะใกล้เคียงกัน ความหมายคือ “ลักษณะคล้ายนกชนิดย่อยอื่น” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก (10 ซม.) ตัวเต็มวัยกลางกระหม่อมมีแถบเป็นวงสีส้ม จะเห็นได้ชัดเมื่อก้มหัว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเขียว ลำตัวด้านล่างสีเหลืองมีลายขีดสีน้ำตาลแกมเขียว ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายนกกาฝากอกแดงตัวไม่เต็มวัย ซึ่งบางครั้งเมื่อดูในธรรมชาติก็แยกไม่ออก แต่อกตอนล่างและท้องเป็นสีเหลืองมากกว่าลำตัวด้านล่างส่วนอื่น

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ แต่ขณะหากินอาจพบหลายตัวอยู่ด้วยกัน อาศัยและหากินตามยอดไม้หรือดอกไม้จำพวกกาฝาก โดยกินเกสร น้ำหวาน และผลไม้เนื้ออ่อนเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังกินแมลงที่มาตอมดอกไม้ด้วย

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ทำรังเป็นรูปทรงกลมหรือที่ห้อยลงจากกิ่งไม้ด้วยเส้นใยหรือเถาวัลย์เล็ก ๆ โดยใช้ใยแมงมุมเชื่อมวัสดุให้ติดกัน ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น

ไข่
รังมีไข่ 2 ฟอง ไข่สีขาวมีลายสีน้ำตาล

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย septentrionalis พบทางภาคใต้ตอนบน จากจังหวัดระนองถึงจังหวัดตรัง และชนิดย่อย obitus พบทางภาคใต้ตอนใต้ตั้งแต่จังหวัดตรังลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกกาฝากอกเหลือง


Prionochilus maculatus02.jpg Prionochilus maculatus03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/dsc_0362b.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRmrnClaH0pj9g116MQ0VZKXiHpXF6PriDJy_SamhZCI8ELfnrU&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQYWkU5T9UmI8Kz7Xi1fdFucgLtt-WSGa5b_m2PoFBrXcgOQAx0&s