นกจับแมลงสีคล้ำ

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Muscicapa sibirica01.jpg

วงศ์ : Muscicapinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muscicapa sibirica Gmelin 1789.
ชื่อสามัญ : Dark-sided Flycatcher
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Siberian Flycatcher

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muscicapa sibirica ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ทั่วโลกมี 4 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

  1. Muscicapa sibirica sibirica Gmelin ที่มาของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด
  2. Muscicapa sibirica cacabata Penard ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ cac, -a, -h, -o แปลวาเลว และ bat, -o, =us ซึ่งมีความหมายว่า “ไม่ค่อยกระโดดหรือเกาะตามพุ่มไม้” พบครั้งแรกที่ประเทศเนปาล
  3. Muscicapa sibirica rothschildi (Stuart Baker) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่ประเทศจีน

กระจายพันธุ์
ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาหิมาลัย จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม เกาะไหหล่ำ ไต้หวัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และเกาะปาลาวัน

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) ปากสั้น เมื่อดูในธรรมชาติลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลเข้ม คอมีลายทางสีขาว ลายขีดขนาดกว้างสีขาวจากกลาง คอหอยไปยังอกและท้อง ขณะเกาะตามปกติปลายปีกเกือบจรดปลายหาง หน้าผากและลำตัวด้านบนสีน้ำตาลถึงเทาเข้ม มีลายสีเนื้อที่ปีกแต่ไม่เด่นชัด วงรอบเบ้าตาสีขาว ด้านข้างของคอหอย อก และท้องมีลายขีด ขนาดกว้างสีเทาแกมน้ำตาลแต่ไม่เด่นชัด ขนคลมโขนหางด้านล่างสีขาว ปีกยาว 70-83 มม. ในห้องปฏิบัติการแตกต่างจากนกจับแมลงสีน้ำตาลโดยขนปลายปีกนับจากด้านในเส้นที่ 9 ยาวเท่ากับหรือยาวกว่า เส้นที่ 6 ตัวไม่เต็มวัยขอบขนปีกมีสีขาวแกมสีเนื้อ ลำตัวด้านล่างมีลายขีดเด่นชัดกว่า

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่ารุ่นตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในช่วงฤดูกาลอพยพอาจพบได้ในสวนผลไม้ และป่าชายเลน มักพบอยู่โดดเดี่ยว แต่ในบริเวณเดียวกันอาจพบนกที่หากินร่วมกัน 3-4 ตัว มักเกาะตามยอดไม้ กิ่งไม้แห้ง หรือที่โล่ง ตาคอยจ้องหาเหยื่อ ซึ่งได้แก่ แมลง โดยเฉพาะแมลงในอันดับแมลงวัน (Order Diptera) จากนั้นจะบินโฉบด้วยปากและมักกลับมาเกาะที่เดิม แล้วคอยจ้องหาเหยื่อต่อไป บางครั้งโฉบจับแมลงเหนือพื้นดินเล็กน้อย โดยเฉพาะหลังฝนตกที่มีแมลงบางชนิด เช่น แมลงเม่า บินออกจากรูดิน

การผสมพันธุ์
ไม่มีรายงานการทํารังวางไข่ในประเทศไทย

สถานภาพ
เป็นนกอพยพผ่านและนกอพยพมา ช่วงนอกฤดูผสมพันธ์ พบบ่อยและปริมาณปานกล ชนิดย่อย sibirica พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ บางแห่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ชนิดย่อย cacabata พบทางภาคใต้บางแห่ง (จังหวัดระนอง) และชนิดย่อย rothschild พบทางภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันตก

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกจับแมลงสีคล้ำ


Muscicapa sibirica02.jpg Muscicapa sibirica03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/8066/8163987763_6d712bf0ae_b.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/1b/Muscicapa_sibirica.jpg
https://live.staticflickr.com/7534/27837761142_1db58ffa6a_b.jpg