เหยี่ยวรุ้ง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Spilornis cheelaii1.jpg

วงศ์ : Accipitridae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spilornis cheela
ชื่อสามัญ : Crested Serpent-eagle
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

ลักษณะทั่วไป
ขนาด 56-74 เซนติเมตร ความยาวปีก 1.09 -1.69 เมตร น้ำหนักตัว ตัวผู้ ตัวเมีย 0.42-1.8 กิโลกรัม เหยี่ยวปีกแตกขนาดใหญ่ ปีกสั้นและกว้าง ปลายปีกมน หางสั้น ปลายมน ขณะบิน ส่วนหัวใหญ่มาก ร่อนด้วยระนาบปีกเหนือลำตัว ปลายปีกงอนขึ้นเล็กน้อย กระพือปีกช้าและนุ่มนวล แต่ลำตัวไหลเคลื่อนอย่างอ้อยอิง ขณะเกาะ หนังคลุมจมูกสีเหลือง ม่านสีเหลือง จะงอยปากสีดำแข้งค่อนข้างยาวเปลือยถึงเข่า ผิวสีเหลืองสด เล็บดำ จำแนกชนิดย่อย ชนิดย่อย Spilornis cheela burmanicus พบทั่วประเทศ ยกเว้น ภาคใต้ ซึ่งพบชนิดย่อย Spilornis cheela malayensis ที่มีขนาดเล็กกว่า และลายจุดของส่วนล่างลำตัวเด่นชัด มีชุดขน 3 แบบ ตัวเต็มวัย กระหม่อมดำ ท้ายทอย สีดำขลิบสีสนิมยื่นยาวเป็นหงอนพับลง คอสีน้ำตาลเข้ม จางลงที่ขนคลุมใต้ปีก อกและท้อง ประด้วยจุดสีขาว ใต้ปีกมีแถบดำหนาที่ขอบปีกท้ายและปลายปีก แถบใต้ปีกด้านในสีจางกว่า และเว้นระยะห่างมากจนเห็นพื้นสีขาวชัดเจน หางสั้น ปลายหางมน ใต้หางมีสามแถบ แถบดำที่ปลายหางหนากว่า แถบสีขาวกลางหาง คอและส่วนล่างของลำตัวสีน้ำตาลอ่อนกว่าบนปีกสีน้ำตาลเข้ม บนหางมีแถบสามแถบที่หนาใกล้เคียงกัน ในระยะใกล้สามารถเห็นใบหน้าสีสดชัดเจน ตัวผู้และตัวเมียขนาดต่างกัน ตัวเมียใหญ่กว่า แต่ชุดขนเหมือนกัน วัยเด็ก ใต้ปีกมีแถบดำบนพื้นขาว ขนคลุมใต้ปีกสีน้ำตาลประจุดขาว ใต้หางมีแถบดำสลับขาว 5 แถบ แถบดำที่ปลายหางหนาที่สุดแต่แคบลงเมื่อขนเก่า ถ้าชุดขนใหม่พึ่งออกจากรัง (เดือนมิถุนายน) จะมีแถบสีเนื้อที่ปลายหาง ขณะเกาะ ส่วนหัวสีเนื้อ แถบดำคาดตา ท้ายทอยมีลายจุดดำ ขนคลุมบนปีกสีน้ำตาลเข้ม มีจุดสีเนื้อรวมตัวกันเป็นแถบจางบนปีก ส่วนล่างของลำตัวมีสีขาวนวลมีลายขีดยาวบนอกและท้องประปราย หนังบนใบหน้าสีเหลืองซีด วัยรุ่น ใต้ปีกและใต้หางเหมือนวัยเด็ก แต่ส่วนล่างของลำตัวเมื่อผลัดขนต้นฤดูหนาวแล้วเหมือนตัวเต็มวัยและ จะมีขนหางและขนปีกบินบางเส้นของตัวเต็มวัย

อุปนิสัยและอาหาร
จับงูกินเป็นอาหารหลัก ส่วนใหญ่เป็นงูไม่มีพิษ แต่ล่าสัตว์อื่น เช่น นก สัตว์เลื้อยคลาน ปู หรือแมลง เช่นกัน เมื่อตื่นตกใจจะยกหงอนสั้นที่ท้ายทอยพองขึ้น ทำให้ใบหน้าขยายใหญ่ ดูน่าเกรงขาม มักพบร่อนในเวลากลางวันเหนือดงไม้ และส่งเสียงร้องแหลมดังไปได้ไกล

สถานภาพ
เป็นเหยี่ยวประจำถิ่น อาศัยในป่าดิบชื้น หรือชายขอบป่าทั่วประเทศ แต่ประชากรในภาคเหนืออาจอพยพเป็นรายตัวผ่านภาคใต้เหนือที่ราบ เช่น สวนปาล์มและสวนยาง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
เหยี่ยวรุ้ง


Spilornis cheela2.jpg Spilornis cheela3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcSwlFvZ0cd_FEV-NM5L3YOFfDJyzpLUC5wDfOmmgKYG0L-pbC0y
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcR671vZ7S3T_2XtmrtVrzAZNNHzY55oWNGdclggxQxk525ZqbdU
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcTbR6dico3BCLDE7KI6fWufOXviR2T4V6QpLCX4-a8NlfoBhQWr