นกปรอดอกลายเกล็ด

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Pycnonotus squamatus01.jpg

วงศ์ : Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnonotus squamatus (Temminck) 1828.
ชื่อสามัญ : Scaly-breasted Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ :-

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus squamatus ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ squam, =a, -at, -i, -o แปลว่าเกล็ด และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่มีลายเกล็ด” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Pycnonotus Squamatus weberi (Hume) ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (16 ซม.) หัวสีดำ คอหอยสีขาว ลำตัวด้านบนสีเขียวอ่อน บริเวณอกและสีข้างสีดำ มีลายคล้ายเกล็ดสีขาว ขนคลุมโคน ขนหางด้านล่างสีเหลือง ท้องและปลายขนหางคู่นอกสีขาว

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่เชิงเขาจนกระทั่งความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปกติพบอยู่ตามเรือนยอดของไม้ต้นเท่านั้น ไม่ค่อยพบตามพุ่มไม้หรือไม้พื้นล่าง พบอยู่เป็นคู่หรือเป็น ฝูงเล็ก ๆ อาหารได้แก่ ผลไม้ แมลง และตัวหนอน พฤติกรรมการกินอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดอื่น ๆ

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น คาดว่าไม่แตกต่างจากนกปรอดในสกุลเดียวกัน

ไข่
วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกปรอดอกลายเกล็ด


Pycnonotus squamatus02.jpg Pycnonotus squamatus03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_836.jpg
https://www.endemicguides.com/wp-content/uploads/2017/08/Scaly-Breasted-Bulbul-2-Bird-Tour-Malaysia-Borneo.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR9F0QqiReBBEa5Xi8gN8uNNOv_LdDmTTRRuvmCU7TXWmN8FZKilA&s