นกมุ่นรกสีน้ำตาล

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Alcippe brunneicauda01.jpg

วงศ์ : Pellorneidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alcippe brunneicauda (Salvadori) 1879.
ชื่อสามัญ : Brown Fulvetta
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Brown Nun Babbler, Brown Quaker Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alcippe brunneicauda ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ brunne, -i หรือ brunneus แปลว่าสีน้ำตาล และ caud, =a แปลว่าหาง ความหมายคือ “หางสีน้ำตาล” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Alcippe brunneicauda brunneicauda (Salvadori) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์
ในไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) หัวสีเทา คอสีออกขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล แตกต่างจากนกมุ่นรกตาขาวตรงที่ลำตัวด้านล่างมีแต้มสีเทา ไม่มีสีเหลือง แตกต่างจากนกมุ่นรกภูเขาตรงที่ไม่มีลายเส้นสีดำทางกระหม่อมด้านข้าง ตาสีเทาหรือสีน้ำตาล

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกมุ่นรกอื่น ๆ

การผสมพันธุ์
ยังไม่มีรายงานชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกมุ่นรกสีน้ำตาล คาดว่าไม่แตกต่างจากนกมุ่นรกชนิดอื่น โดยเฉพาะนกมุ่นรกตาขาว

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป

กฎหมาย
ไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกมุ่นรกสีน้ำตาล


Alcippe brunneicauda02.jpg Alcippe brunneicauda03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR3YL90JIotQGcrIOB2Dr587iiiBVeN-cSNbS31uxMWYPVneHqc_Q&s
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/album_data/201411/30/53593/images/480134.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRCSHYjxjQKjJfHBBtlvDbZTdLdb93s25bp4s9u9K065vTYype9sQ&s