นกปรอดท้องสีเทา

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Pycnonotus cyaniventris01.jpg

วงศ์ : Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnonotus cyaniventris Blyth, 1842.
ชื่อสามัญ : Grey-bellied Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus cyaniventris ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ cyan, e, i, -o หรือ cyaneus แปลว่าสีน้ำเงินเข้ม และ vent, =er, -r, -ro หรือ ventris แปลว่าท้องหรือลำตัวด้านล่าง ความหมายคือ “ท้องหรือลำตัวด้านล่างเป็นสีน้ำเงินเข้ม” พบครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Pycnonotus cyaniventris cyaniventris Blyth ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (16 ซม.) หัวท้ายทอย และลำตัวด้านล่างเป็นสีเทาหรือเทาแกมฟ้า ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองสด ลำตัวด้านบน สีเหลืองแกมเขียว

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าดงดิบชื้น และบริเวณชายป่าตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอาศัยและหากินเป็น ฝูงเล็ก ๆ และอาจพบอยู่รวมกับนกปรอดอกลายเกล็ด และนกปรอดอื่น ๆ แต่ค่อนข้างว่องไวและปราดเปรียวกว่า อาหาร ได้แก่ ผลไม้ ตัวหนอน และแมลง พฤติกรรมการกินอาหารเหมือนกับนกปรอดอื่น

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นรูปถ้วยอยู่ตามกิ่งไม้ที่ไม่สูงมากนัก ไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น คาดว่าไม่แตกต่างจากนกปรอดชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน

ไข่
วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง ไข่มีลักษณะคล้ายไข่ของนกปรอดหัวโขน แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดโดยเฉลี่ย 20.3x15.5 มม.

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกปรอดท้องสีเทา


Pycnonotus cyaniventris02.jpg Pycnonotus cyaniventris03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.hbw.com/sites/default/files/styles/ibc_2k/public/ibc/p/07_12.jpg?itok=yuIYlv1p
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSOPX1SzZJKKMdhGqwq-WWfgPaXueJBok93xpHGuPStWoXy1fTvDw&s
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/dsc_0082b.jpg