นกแต้วแล้วอกเขียว

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Pita Sordida01.jpg

วงศ์ : Pittidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pita Sordida (Müller) 1776.
ชื่อสามัญ : Hooded Pitta
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Green-breasted Pitta

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pita Sordida ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ sord,-id หรือ Sordidas แปลว่าโสโครก ความหมายคือ “นกที่มีสีทีมไม่สดใส” หรืออาจหมายถึง “นกที่มีสีหลากหลายคล้ายรอยเปรอะเปื้อน” ทั่วโลกมี 13 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Pitta sordida cuculata Hartlaub ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ cucull, =us แปลว่าผ้าคลุมศีรษะ (hood) และ -ta เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “นกที่บริเวณหัวมีลักษณะคล้ายกับมีผ้าคลุม” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย และ Pitts Sordida muelleri Bonaparte ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์
ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซนดา ฟิลิปปินส์ จนถึงนิวกินี

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (19 ซม.) หัว คอ และช่วงไหล่สีดำกระหม่อมเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลำตัว และอกสีเขียว ขนคลุมขนปีกและขนคลุมโคนขนหาง ด้านบนสีน้ำเงินสด ท้องตอนท้ายและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีแดง ขณะบินจะเห็นลายพาดเป็นรูปวงกลมบริเวณขนปลายปีก ตัวไม่เต็มวัยลำตัวด้านบนสีจะทีมกว่าตัวเต็มวัย ขนคลุมขนกลางปีกสีขาว คอหอยสีขาว แกมน้ำตาล ลำตัวด้านล่างส่วนที่เหลือสีน้ำตาล โดยบริเวณกลางท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีชมพู

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณชน และป่ารุ่น โดยเฉพาะพื้นที่ราบหรือระดับต่ำ แต่ก็อาจพบได้ในระดับความสูง 750 เมตรจากระดับน้ำทะเล หากินตามพื้นดิน ช่วงนอนหลับหรือพักผ่อนอาจเกาะกับกิ่งไม้ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ร้องเป็นเสียง “แร้ว-แร้ว” ซึ่งคล้ายกับเสียงร้องของนกแต้วแร้วธรรมดามาก อาหาร ได้แก่ ไส้เดือน ตัวหนอน และแมลงที่อาศัยตามพื้นดิน หาอาหารโดยการไล่จิกหรือใช้ปากขุดดินหรือคุ้ยใต้ใบไม้

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังตามพื้นดิน บริเวณโคนไม้ต้นหรือไม้พุ่ม รังเป็นรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านหน้า

ไข่
รังมีไข่ 3-4 ฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 21x27.1 มม.ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 13-14 วัน ลูกอ่อนจะอยู่ในรังเป็นเวลา 12-14 วัน จากนั้นจะทิ้งรัง แต่ยังคงติดตามพ่อแม่ไปหาอาหาร จนกระทั่งโตพอประมาณและบินได้ดีแล้วจึงจะแยกไปหากินตามลพัง

สถานภาพ
เป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพมาทำรังวางไข่ในฤดูฝน นกอพยพผ่าน และนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ชนิดย่อย cuculata ปกติไม่ใช่นกประจำถิ่น พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ตอนบน ชนิดย่อย mueleri เป็นนกประจำถิ่น พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป ทุกชนิดย่อยพบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก แต่บางท้องที่พบบ่อยและปริมาณปานกลาง

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกแต้วแล้วอกเขียว


Pita Sordida02.jpg Pita Sordida03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS3JPaD5544xTpLGCgwAfHZaTmP6kppyG8ZI59AldmcyXPGglQM&s
https://simg.kapook.com/o/photo/586/kapook_world-583523.jpg
https://live.staticflickr.com/3751/14094584738_17ae180b75_b.jpg