นกอีเสือสีน้ำตาล

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Lanius cristatus01.jpg

วงศ์ : Laniidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lanius cristatus (Linnaeus),1758.
ชื่อสามัญ : Brown shrike
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lanius cristatus ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละตินคือ Cristatus แปลว่าหงอน (รากศัพท์ภาษาละตินคือ crist,=a แปลว่าหงอน และ –tus เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “นกที่หัวมีลักษณะเด่น” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อย คือ

  1. Lanius cristatus cristatus Linnaeus ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด
  2. Lanius cristatus confuses Stegmann ชื่อชนิดย่อยอาจมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า confuse แปลว่ายุ่งยาก สับสน ซึ่งอาจหมายถึงการจัดจำแนกพบครั้งแรกที่ประเทศรัสเซีย
  3. Lanius cristatus superciliosus Latham ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ superciliosus แปลว่าคิ้ว (super แปลว่าเหนือ cili,-a,-o,=um แปลว่าขน และ –osus แปลว่าเต็มไปด้วย) ความหมายคือ “คิ้วมีลักษณะเด่น” พบครั้งแรกที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย
  4. Lanius cristatus lucionensis Linnaeus ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์

กระจายพันธุ์
ในเอเชียตะวันออก อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ และนิวกินี

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (20 ซม.) ตัวเต็มวัยด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเทาจนถึงน้ำตาลถึงน้ำตาลแดง โดยชนิดย่อย cristatus กระหม่อม ลำตัวด้านบน ตะโพก และขนคลุมโคนหางด้านบนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง (Ali and Ripley,1972) ชนิดย่อย superciliosus ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดงมากกว่า โดบลนิเวณกระหม่อมมีสีเข้มที่สุด ตะโพกสีน้ำตาลเหลืองถึงน้ำตาลแดง ชนิดย่อย lucionensis กระหม่อม ช่วงไหล่ และโคนปีกเป็นสีเทาจาง คิ้วไม่เด่นชัด และชนิดย่อย confusus กระหม่อมสีน้ำตาล

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามทุ่งโล่ง ทั้งบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำและบริเวณที่ค่อนข้างแห้งแล้งป่าละเมาะ และสวนผลไม้ ส่วนใหญ่ในระดับต่ำ แต่อาจพบได้ถึงในระดับความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยเฉพาะช่วงอพยพ อุปนิสัยโดยทั่วไปไม่แตกต่างจากนกอีเสือหัวดำ แต่มักมีกิจกรรมในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำมากกว่า

การผสมพันธุ์
ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย

สถานภาพ
เป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย cristatus พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย confusus พบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียวเหนือ ตอนใต้ของภาคกลาง และภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป ชนิดย่อย superciliosus พบทางภาคใต้ตอนใต้สุด ชนิดย่อย lucionelucionensis พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางส่วน

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอ

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกอีเสือสีน้ำตาล


Lanius cristatus02.jpg Lanius cristatus03.jpg Lanius cristatus04.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5d/Brown_Shrike_(Lanius_cristatus)-_Immature_feeding_in_Kolkata_I_IMG_1898.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5c/Brown_Shrike_(Lanius_cristatus)-_Immature_in_Kolkata_I_IMG_6072.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/fd/Lanius_cristatus_P3210550.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/8f/Brown_Shrike_(Lanius_cristatus)-_Immature_in_Kolkata_I_IMG_2760.jpg