นกพญาปากกว้างท้องแดง

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Cymbirhynchus macrorhynchos01.jpg

วงศ์ : Eurylaindae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbirhynchus macrorhynchos (Gmelin) 1788.
ชื่อสามัญ : Black-and-red Broadbill
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbirhynchus macrorhynchos ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ macr, -o หรือ makros แปลว่าใหญ่หรือยาว และ rhynch, -o, =us หรือ rhunkhos แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากใหญ่หรือยาว” พบครั้งแรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Cymbirhynchus macrorhynchos malaccensis Salvadori ชื่อชนิดย่อย ดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ Malacca ในประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (24-25 ซม.) ตัวเต็มวัยมีปากใหญ่ขากรรไกรล่างสีเหลืองสด ขากรรไกรบนสีน้ำเงินสด ลำตัวด้านบนสีดำ มีลายแถบสีขาวบริเวณช่วงไหล่ ตะโพกสีแดง ลำตัวด้านล่างสีแดงเข้ม มีลายพาดสีดำบริเวณอก ขณะบินจะเห็นขนคลุม ขนปีกด้านล่างสีเหลืองอ่อน มีลายแถบสีขาวบริเวณโคนของขนปีก ตัวโตไม่เต็มวัยบริเวณคอหอยและอกสีน้ำตาลแกมเทา ท้องสีหลืองโดยมีลายแต้มสีแดง ขนคลุมโคนหางด้านล่างสีแดง

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าพรุ และป่าชายเลน บางคร้งพบในป่ารุน ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั้งความสูงไม่เกิน 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอาศัยและหากินใกล้ลำธาร มักมีกิจกรรมในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำ ในเวลากลางวันซึ่งอากาศร้อน มักหลบซ่อนตามกพุ่มไม้หรือเกาะกับกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบ ทำให้ไม่ค่อยเห็นตัวรวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ นกนางพญาปากกว้างท้องสีแดง มีเสียงร้องคล้ายกบ “แอ๊บ-แอ๊บ-แอบ” มักร้องในช่วงบ่ายและใกล้ค่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกพญาปากกว้างท้องแดงกินสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง ปู แมลง เป็นอาหาร นอกจากนี้ยังพบกินผลไม้บางชนิด โดยเฉพาะผลไม้เนื้ออ่อน

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทํารังเป็นรูปกระเปาะแขวนตามกิ่งไม้ โดยเฉพาะกิ่งที่ยื่นออกไปเหนือลําธารในป่า รังมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านข้าง วัสดุที่ใช้ทํารังประกอบด้วยหญ้า ดอกหญ้า ใบไม้ ใยแมงมุม

ไข่
ไข่สีเนื้อแกมชมพู มีลายคล้ายลายแตกสีน้ำตาล โดยเฉพาะไข่ด้านป้านจะมีลายมากกว่าด้านแหลม ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะเวลาที่พ่อแม่นกใช้ฟักไข่และเลี้ยงลูก

สถานภาพ
เป็นนกประจําถิ่น หายากและปริมาณน้อย จัดเป็นนกพญาปากกว้างที่หายากที่สุดในบรรดานกพญาปากกว้างด้วยกัน พบทางภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกพญาปากกว้างท้องแดง


Cymbirhynchus macrorhynchos02.jpg Cymbirhynchus macrorhynchos03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201802/13/54348/images/487610.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201802/13/54348/images/487616.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSMX7AunEM_61K_eIFFSRyXBUXg8dNvL5hiykB4j84sKg2Afal1&s