นกจาบดินหัวดำ

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Pellorneum capistratum01.jpg

วงศ์ : Pellorneidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pellorneum capistratum (Temminck) 1823.
ชื่อสามัญ : Black-capped Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Black-capped Jungle Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pellorneum capistratum ชื่อชนิดมาจากคำในภาษาละตินคือ capistratus แปลว่าบ่วงหรือแขวนคอ ความหมายคือ “ใบหน้ามีลวดลายเด่นชัด” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 5 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Pellorneum capistratum nigrocapitatum (Eyton) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ nig,-el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro หรือ niger แปลว่าสีดำ และ capitatus แปลว่าหัว (capit, -i, -o แปลว่าหัว และ -tum เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “หัวเป็นสีดำ” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะซุนดา

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (18 ซม.) หัวสีดำ คิ้วสีขาวแกมเทา คอหอยสีขาว ซึ่งจะตัดกับหัวด้านข้างที่มีสีเทาและลำตัวด้านล่างที่มีสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดง แก้มมีลายพาดสีเข้ม

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 750 เมตรจากระดับน้ำทะเล หากินตามพื้นดิน โดยเฉพาะด่านสัตว์และทางเดินเท้าในป่า อุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างจากนกจาบดินอกลาย

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ทำรังเป็นรูปถ้วยบนพื้นดิน หรือตามต้นปาล์มและพืชคลุมดิน รังอยู่ระดับพื้นดินหรือสูงจากพื้นดินประมาณ 60 ซม. ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น

ไข่
รังมีไข่ 2 ฟอง ไข่สีขาว มีลายกระสีม่วงปนน้ำตาลจนถึงสีแดงเข้ม ขนาดของไข่ 15.7-16.0x20.8 มม.

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกจาบดินหัวดำ


Pellorneum capistratum02.jpg Pellorneum capistratum03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/album_data/201502/14/53655/images/480867.jpg
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/133933671/1800
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSznuM3ZpLX6EQdzZs_7iVInCzFuXEnAml-Yf-kXJ2GFV15qwWa&s