นกหัวขวานป่าไผ่

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Gecinulus viridis01.jpg

วงศ์ : Picidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gecinulus viridis Blyth, 1862.
ชื่อสามัญ : Bamboo Woodpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Green Bamboo Woodpecker

นกหัวขวานป่าไผ่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gecinulus viridis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ virid, -esc หรือ viridis แปลว่าสีเขียว ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียว” พบครั้งแรกที่เมืองพะโค ประเทศพม่า ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีนกหัวขวานป่าไผ่ 2 ชนิดย่อย คือ Gecimulus viridis viridis Blyth ชื่อชนิดย่อยมีที่มาและความหมายเช่นเดียวกับชื่อชนิด และ Gecinulus viridis robinsoni Boden Kloss go ชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคล พบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ในอดีตนักปักษีวิทยาจัดนกหัวขวานหัวเหลือง และนกหัวขวานป่าไผ่เป็นชนิดเดียวกัน แต่ต่างชนิดย่อย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gecinulus grantia ต่อมายกฐานะแต่ละชนิดย่อยเป็นชนิด

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (27-28 ซม.) ปากสีออกขาว หัวสีเหลืองแกมสีน้ำตาล ลำตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลือง ตะโพกสีแดง ลำตัวด้านล่างสีน้ำ ตาลแกมเขียว ตัวผู้ต่างจากตัวเมียตรงที่กระหม่อมและท้ายทอยของตัวผู้เป็นสีแดง

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ หากินตามลำต้นของต้นไม้หรือลำไผ่ขนาดใหญ่ บางครั้งหากินตามไม้ล้ม ไม่พบหากินตามพื้นดิน เป็นนกที่ส่งเสียงร้องเกือบตลอดเวลา เช่น เดียวกับนกหัวขวานหัวเหลือง อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ มด ตัวอ่อนของด้วงที่เจาะต้นไม้และลำไผ่ มันหาอาหารด้วยการใช้ลิ้นยาว ชอนไชไปตามโพรงหรือรูซึ่งเป็นที่อยู่ของเหยื่อ บาง ครั้งก็ใช้ปากจิกเปลือกไม้ให้หลุดออกเพื่อหาเหยื่อที่อยู่ใต้เปลือกไม้

การผสมพันธุ์
นกหัวขวานป่าไผ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงบนต้นไม้ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นตายที่ค่อนข้างผุ มักเป็นโพรงที่มันขุดเจาะเอง มันอาจใช้โพรงเดิมทำรังในปีต่อไป แต่มักเจาะปากโพรงซึ่งเป็นทางเข้าออกใหม่ ยังเป็นที่สงสัยว่านกที่ใช้โพรงเดิม ทำรังนี้จะเป็นคู่เดิมที่เคยใช้โพรงนี้มาก่อนหรือเป็นนกคู่ใหม่ โพรงมักอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1-6 เมตร บางคู่ทำรังในปล้องไผ่ โดยเจาะปากโพรงเหนือข้อไผ่ประมาณ 10-15 ซม. แล้ววางไข่ข้างใน

ไข่
รังมีไข่ 3 ฟอง ไข่สีขาว มีขนาดเฉลี่ย 19.0x25.1 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันขุดโพรง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 14-15 วัน ลูกนกแรกเกิดไม่มีขนปกคลุมร่างกาย และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกก และป้อนอาหารจนลูกนกแข็งแรงและบินได้ดี ประมาณ 1 เดือนหลังออกจากไข่ ลูกนกจะทิ้งรังไปหากินตามลำพัง

สถานภาพ
นกหัวขวานป่าไผ่เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก ชนิดย่อย viridis พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระขึ้นมา ชนิดย่อย robinsoni พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดนกหัวขวานป่าไผ่ทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกหัวขวานป่าไผ่


Gecinulus viridis02.jpg Gecinulus viridis03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/4117/4874798611_4c071716d6_b.jpg
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/83900741/1800
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/bamboo_woodpecker_2.jpg