ดูโค้ดสำหรับ นกยางเขียว
←
นกยางเขียว
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:Butorides_striatus01.JPG|right]] '''วงศ์''' : Ardeidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Butorides striatus'' (Linnaeus) 1758.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Little heron<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : Little green heron , Green-backed heron , Striated heron , Mangrove heron<br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Butorides striatus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ = stria, -t แปลว่าลายหรือเป็นลาย และ –tus เป็นคำลงท้ายในภาษาละตินความหมายคือ “นกยางไฟที่ลำตัวเป็นลาย” พบครั้งแรกที่สาธารณรัฐซูรินาเม ในทวีปอเมริกาใต้ ทั่วโลกมี 36 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ #Butorides striatus amurensis Von Schrenck ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือดินแดน Amur ทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย #Butorides striatus actophilus Oberholser ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ act, =a, -e, -I แปลว่าชายหาด และ phil, -a, -I, -o แปลว่าชอบความหมายคือ “นกยางเขียวที่ชอบอยู่ตามชายหาดหรือชายทะเล” พบครั้งแรกที่เกาะ Barussan #Butorides striatus abbotti Oberholser ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อของบุคคลคือ Abbott พบครั้งแรกที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย '''กระจายพันธุ์''' <br> ทั่วไปในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ซีกโลกตะวันออก ยกเว้นยูเรเซียตะวันตก อินเดีย หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ พม่า ไทย อินโดจีน จีนด้านตะวันออกและใต้ ไต้หวัน เกาะไหหลำ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย '''ลักษณะทั่วไป''' <br> เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (43–45 ซม.) ปากขาวเรียวและตรง หัวเล็ก คอยาวปานกลาง ปีกยาว ปลายปีกมน ขายาวปานกลาง ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน ตัวเต็มวัยบริเวณหัวสีดำ มีขนสีดำ 2 เส้นยื่นออกจากบริเวณท้ายทอย ลำตัวด้านบนสีเทาเข้ม ลำตัวด้านล่างสีจางกว่าลำตัวด้านบน บริเวณคอด้านล่างจนถึงอกมีลายสีขาว ตัวไม่เต็มวัยสีออกเป็นสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างมีลายขีดสีเข้มกระจายทั่วไป '''อุปนิสัยและอาหาร'''<br> มีกิจกรรมและหากินในช่วงเช้าตรู่และเย็นค่ำ บางครั้งอาจพบมันหากินในเวลากลางวันด้วย พบอยู่โดดเดี่ยวตามบริเวณป่าชายเลน ชายฝั่งทะเล และชายแหล่งน้ำจืดทั่วไป มันชอบเดินลุยตามเลน ชายน้ำ หรือในน้ำซึ่งระดับน้ำไม่ลึกมากนักบางครั้งเกาะยอดพืชจำพวกกกและอ้อที่ขึ้นอยู่ในน้ำหรือชายน้ำ หรือตามกิ่งไม้หรือตอไม้ในบริเวณแหล่งหากิน บินได้ดี แต่มักบินเรี่ยยอดหญ้าหรือชายน้ำ ขณะเกาะนิ่งเพื่อพักผ่อนหรือนอนหลับและขณะบินมักหดคอสั้น แต่ขณะหาอาหารจะยืดคอยาวออกไปพอสมควร อาหารได้แก่แมลงและสัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย กบ เขียด เป็นต้น ส่วนใหญ่หาอาหารโดยเดินลุยหรือเดินย่องไปตามชายเลนหรือชายน้ำต้องหาเหยื่อ เมื่อพบเหยื่อจะยืดคอใช้ปากงับเหยื่อแล้วกลืนกิน ปกติมันจะหาเหยื่อขนาดไม่ใหญ่มากนัก สามารถกลืนกินได้ทั้งตัว '''การผสมพันธุ์''' <br> นกยางเขียวผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนในช่วงนี้มักพบมันอยู่เป็นคู่ ขณะที่ช่วงอื่นมักพบมันอยู่โดดเดี่ยว เมื่อจับคู่กันแล้ว มันจะช่วยกันเลือกสถานที่หาวัสดุ และสร้างรัง ปกติมันทำรังรวมกันเป็นกลุ่ม 6–10 รัง หรือมากกว่า แต่บางครั้งจะสร้างรังอยู่โดดเดี่ยวรังเป็นแบบง่าย ๆ เพียงนำกิ่งไม้มาวางซ้อนกันตามกิ่งหรือง่ามไม้ที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 25–30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางขอบใน 10–15 ซม. และแอ่งตรงกลางลึก 5–7 ซม. '''ไข่'''<br> รังมีไข่ 3–5 ฟอง สีออกเขียว ไม่มีจุดหรือลาย มีขนาดเฉลี่ย 29.0x35.0 มม. โดยวางไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 15–17 วัน ลูกนกจะออกจากไข่เองโดยใช้ฟันเจาะเปลือกไข่ ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยสีเทาปกคลุมลำตัวด้านบนเล็กน้อย ลืมตา แต่ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกกให้ความอบอุ่นและหาอาหารมาป้อนด้วยการสำรอกใส่ปากลูกนก เมื่อลูกนกแข็งแรงและบินได้ดีแล้ว ซึ่งใช่เวลา 5–6 สัปดาห์หลังออกจากไข่ ก็จะแยกจากพ่อแม่ออกไปหากินเองตามลำพัง '''สถานภาพ'''<br> เป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย amurensis เป็นนกอพยพพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย actophilus เป็นนกอพยพ พบทางภาคเหนือและภาคกลาง ส่วนชนิดข่อย abbotti เป็นนกประจำถิ่น พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ '''กฎหมาย''' <br> กฎหมายจัดนกยางเขียวทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ---- <center>[[ไฟล์:Butorides_striatus02.jpg]] [[ไฟล์:Butorides_striatus03.jpg]] [[ไฟล์:Butorides_striatus04.jpg]]</center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0e/Butorides_striata_-_Laem_Pak_Bia.jpg<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/bb/Butorides_striatus_amurensis_at_kanonji.jpg<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/56/Butorides_striatus_-_Daintree_River.jpg<br> https://c1.staticflickr.com/1/50/125696976_d78ad2d797_b.jpg <br>
กลับไป
นกยางเขียว
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกก
นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบธรรมดา
นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง
นกกระติ๊ดเขียว
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระเต็นลาย
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกระปูดใหญ่
นกกวัก
นกกางเขนดง
นกกางเขนน้ำหลังแดง
นกกางเขนบ้าน
นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาฝากอกสีเลือดหมู
นกกาฝากอกเหลือง
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอแดง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีคอสีม่วง
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
นกกินปลีสีเรียบ
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินแมลงคอดำ
นกกินแมลงคอลาย
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าสีน้ำตาลแดง
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกกินแมลงปีกแดง
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงอกเหลือง
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกขุนแผนอกสีส้ม
นกเขนน้อยไซบีเรีย
นกเขนน้อยปีกแถบขาว
นกเขาเขียว
นกเขาเปล้าธรรมดา
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
นกเขียวก้านตองเล็ก
นกเขียวก้านตองใหญ่
นกเขียวคราม
นกเขียวปากงุ้ม
นกคัคคูหงอน
นกเค้าเหยี่ยว
นกเงือกกรามช้าง
นกเงือกปากดำ
นกเงือกหัวหงอก
นกจอกป่าหัวโต
นกจับแมลงคอแดง
นกจับแมลงจุกดำ
นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง
นกจับแมลงสีคล้ำ
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาคอสีฟ้า
นกจาบคาหัวเขียว
นกจาบคาหัวสีส้ม
นกจาบดินหัวดำ
นกจาบดินอกลาย
นกชนหิน
นกแซงแซวเล็กเหลือบ
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกเด้าลมดง
นกเดินดงหัวสีส้ม
นกตะขาบดง
นกแต้วแล้วธรรมดา
นกแต้วแล้วลาย
นกแต้วแล้วอกเขียว
นกนางแอ่นแปซิฟิค
นกบั้งรอกเขียวอกแดง
นกบั้งรอกแดง
นกบั้งรอกปากแดง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดทอง
นกปรอดท้องสีเทา
นกปรอดสวน
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง
นกปรอดหงอนตาขาว
นกปรอดหน้านวล
นกปรอดหลังเขียวอกลาย
นกปรอดหลังฟู
นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกปรอดอกลายเกล็ด
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
นกปรอดโอ่งไร้หงอน
นกปลีกล้วยท้องเทา
นกปลีกล้วยปากหนา
นกปลีกล้วยเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่
นกพญาปากกว้างท้องแดง
นกพญาปากกว้างลายเหลือง
นกพญาปากกว้างเล็ก
นกพญาปากกว้างสีดำ
นกพญาไฟสีเทา
นกโพระดกคางแดง
นกโพระดกเคราเหลือง
นกโพระดกหน้าผากดำ
นกมุ่นรกสีน้ำตาล
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกสีชมพูสวน
นกหกเล็กปากแดง
นกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว
นกหัวขวานจิ๋วอกแดง
นกหัวขวานด่างแคระ
นกหัวขวานแดง
นกหัวขวานป่าไผ่
นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงถ้ำ
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เหยี่ยวดำท้องขาว
เหยี่ยวท้องแดง
เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา
เหยี่ยวผึ้ง
เหยี่ยวรุ้ง
ปรับปรุงล่าสุด
สุ่มหน้า
วิธีใช้
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า